กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

รพ.สต.บ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน

นายยงยุทธ์ ชูวงศ์
นางอภิยา เหตุทอง
นางวนิดา ศรีริภาพ
นางฮามีดะ หลังยาหน่าย
นางสาวมารียา สุขสง่า

ตำบลวังประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

55.12

การเจริญเติบโตของเด็ก ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญภาพชีวิตตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสติปัญญา ภูมิต้านทานโรค และการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ การเจริญเติบโตของเด็ก เกิดจากการกินอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
ปัจจุบันพบว่า1 ใน 3 ประชากรโลกเผชิญกับภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 45 ของประเทศทั่วโลกประสบภาวะทุพโภชนาการซ้ำซ้อน ทั้งโรคขาดสารอาหาร และโรคโภชนาการเกินในส่วนของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีนั้น จำนวน 42 ล้านคนทั่วโลก มีปัญหาผอม และพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 161 ล้านคน ประสบปัญหาแคระแกร็น อีกทั้งพบว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ร้อยละ 45 เสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 2-20 ในการรักษาโรคอ้วน เช่น ประเทศมาลาวีที่ต้องจ่ายงบประมาณในการแก้ปัญหาทุพโภชนาการ ถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ประเทศไทยมีการสำรวจตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน โดยใช้มาตรฐานของยูเอ็น ปรากฏว่าสถิติตรงนี้แสดงให้เห็นว่า เรามีภาวะขาดสารอาหารมาก เช่น ภาวะเด็กเตี้ยกว่าอายุที่ควรเทียบตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เราเตี้ยกว่าถึง 16 เซนติเมตรและภาวะผอม และน้ำหนักน้อย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นหน่วยปฐมภูมิ มีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจากข้อมูลพบว่า เด็กปฐมวัย อายุ0-6 ปี มีร่างกายสูงดีสมส่วนคิดเป็นร้อยละ 44.88ซึ่งตามเกณฑ์กำหนดของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เด็กต้องมี ร่างกายสูงดี สมส่วน ร้อยละ 61ซึ่งพบว่า เด็กปฐมวัยตำบลวังประจันไม่ผ่านเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสติปัญญา พัฒนาการภูมิต้านทานโรค และการเกิดโรคเรื้อรัง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน จึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างจริงจัง
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเพื่อให้เด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพมีส่วนสูงระดับดี และรูปร่างสมส่วน จึงจัดทำโครงการขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

55.12 39.00
2 เด็กปฐมวัยตำบลวังประจันมีร่างกาย สูงดีสมส่วน มากกว่าร้อยละ 61

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้ปกครองสามารถจัดโภชนาการให้เด็กได้ถูกต้องตามมาตรฐาน ผลจากการตรวจร่างกาย เด็กปฐมวัยมีร่างกายสูงดี สมส่วน มากกว่าร้อยละ  61

55.12 39.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมประชุม วางแผนในการดำเนินโครงการระหว่างเจ้าหน้าที่ และนักจัดการสุขภาพประจำตำบล

ชื่อกิจกรรม
เตรียมประชุม วางแผนในการดำเนินโครงการระหว่างเจ้าหน้าที่ และนักจัดการสุขภาพประจำตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน52คนๆละ1มื้อๆละ30บาทเป็นเงิน1,560บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าหน้าที่และนักจัดการสุขภาพประจำตำบลเข้าใจกระบวนการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1560.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐานเมนูพื้นบ้าน ความรู้สู่การปฏิบัติแก่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยตำบลวังประจัน จำนวน100คนโดยจัดเป็น 2 กลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐานเมนูพื้นบ้าน ความรู้สู่การปฏิบัติแก่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยตำบลวังประจัน จำนวน100คนโดยจัดเป็น 2 กลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองเด็กจำนวน100คนๆละ1มื้อๆละ60 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองเด็กจำนวน100คนๆละ2มื้อๆละ30บาทเป็นเงิน 6,000 บาท

-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน4ชั่วโมงๆละ500 บาทเป็นเงิน4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองสามารถจัดโภชนาการให้เด็กได้ถูกต้องตามมาตรฐาน ผลจากการตรวจร่างกาย เด็กปฐมวัยมีร่างกายสูงดี สมส่วน มากกว่าร้อยละ61

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลงได้

2.เด็กปฐมวัยตำบลวังประจันมีร่างกาย สูงดีสมส่วน มากกว่าร้อยละ 61


>