กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการและห่วงใยสุขภาพเด็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ห้องประชุมบังสูรย์องค์การบริหารส่วนตำบลโต๊ะเด็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เด็กที่มีคุณภาพคือเด็กที่มีการเจริญเติบโตสมวัย พัฒนาการสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายสติปัญญาจิตใจ อารมณ์ และสังคม ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็กเด็กในวัยนี้ถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่ด้านโภชนาการจะส่งผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตช้า ผลที่ตามมาคือโรคขาดสารอาหาร ทำให้พัฒนาการและการเรียนรู้ล่าช้าด้อยกว่าเด็กตามเกณฑ์ที่อยู่ในวัยเดียวกัน และเด็กที่ขาดสารอาหารจะมีผลทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ เด็กจะเจ็บป่วยบ่อย เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายเด็กในวัยนี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในภายภาคหน้า เพื่อพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตอย่างมีมีคุณภาพ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการอบรมเลี้ยงดู การดูแลเอาใจใส่สุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ถูกต้อง ตลอดจนการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ด้านโภชนาการซึ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้เด็กได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการทีดี
จากการประเมินพัฒนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตามเกณฑ์อายุ ปรากฏว่า พบเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการของในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโต๊ะเด็งดังนี้
- เด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยจำนวน24คน
- น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์จำนวน10คน
- ค่อนข้างเตี้ยจำนวน18 คน
- เตี้ยจำนวน 18คน
- เริ่มอ้วน จำนวน 1 คน
- ค่อนข้างผอม จำนวน 11คน
- ผอม จำนวน 8คน
องค์การบริหารส่วนตำบลโต๊ะเด็ง ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการโภชนาการและห่วงใยสุขภาพเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารศพด.มีความรู้เรื่องการโภชนาการและการส่งเสริมโภชนาการของลูกแต่ละช่วงวัย

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่มีภาวะขาดสารอาหาร

70.00 30.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองตามวัย

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้และประเมินพัฒนาการ ตามเกณฑ์อายุ

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้และประเมินพัฒนาการ ตามเกณฑ์อายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการให้ความรู้ด้าน  ทักษะในการอบรมเลี้ยงดู การดูแลเอาใจใส่สุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ถูกต้อง ตลอดจนการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ค่าตอบแทนวิยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ600 =  1,800 บาท ค่าอาหารกลางวันจำนวน71คนๆละ 60 บ. =  4,260บาท. ค่าอาหารว่าง  จำนวน71คนๆละ 30 บ.     =  2,130บาท. ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2 x 2.4 เมตร = 720 บ.
                 รวม  8,910  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8910.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตและปฏิบัติการประกอบอาหาร เมนูอาหารดังนี้ กลุ่มที่ 1 ข้าวผัดไข่ 3 สหาย กลุ่มที่ 2 .สปาเก็ตตี้ไก่สับ ซอสมะเขือ กลุ่มที่ 3 .แซนด์วิชทูน่าปูอัด กลุ่มที่ 4 .ผักชุบแป้งทอด ซอสมะเขือ กลุ่มที่ 5 ขนมจีบกุ้งสับ กลุ่มที่ 6 ผ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตและปฏิบัติการประกอบอาหาร เมนูอาหารดังนี้ กลุ่มที่ 1 ข้าวผัดไข่ 3 สหาย กลุ่มที่ 2 .สปาเก็ตตี้ไก่สับ ซอสมะเขือ กลุ่มที่ 3 .แซนด์วิชทูน่าปูอัด กลุ่มที่ 4 .ผักชุบแป้งทอด ซอสมะเขือ กลุ่มที่ 5 ขนมจีบกุ้งสับ กลุ่มที่ 6 ผ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนวิยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ600 =  1,800 บาท ค่าอาหารว่าง  จำนวน71คนๆละ 30 บ.     =  2,130บาท. ค่าวัสดุ   2,000 บาท    (รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย)                 รวม 5,930   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5930.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวังปัญหาทุพโภชนการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังปัญหาทุพโภชนการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ดื่มนมโรงเรียนทุกวัน    - รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ    - ทำแผนรองรับแก้ปัญหาทุพโภชนาการของเด็ก
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชั่งน้ำหนัก ทุกๆ 3 เดือน เพื่อประเมินพัฒนาการและทำแผนรองรับและแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาของเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามและประเมินผลตลอดทั้งปีการศึกษา 2566

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,840.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารศพด.มีความรู้เรื่องการโภชนาการและการส่งเสริมโภชนาการของลูกแต่ละช่วงวัย
2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย


>