กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม.ควบคุมโรคติดต่อตำบลทุ่งใหญ่ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่

โรงพยาบาสส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ตำบลทุ่งใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19 , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

80.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

80.00
3 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

 

80.00

ปัญหาสุขภาพและแนวโน้มโรคและภัยสุขภาพที่ปรากฏในสังคมไทย ตามการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและระบบสาธารณสุข ในการทำแผนยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค ปี 2559 – 2566 มีโรคที่สำคัญ คือ โรคไข้เลือดออก, โรคมาลาเรีย, โรคพิษสุนัขบ้า, โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อหิวาตกโรค/อาหารเป็นพิษ/อุจจาระร่วงเฉียบพลัน), โรคเอดส์, โรควัณโรค, โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพประกอบกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน ระบบการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพยังไม่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาป้องกันควบคุมโรคได้อย่างครอบคลุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพและโรคในพื้นที่ได้แก่โรคไข้เลือดออกโรคตาแดง โรคอุจจาระร่วงโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากอัตราป่วยที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคที่อาจพบได้ในพื้นที่ เช่น โรคชิคุนกุนยา โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เป็นต้น
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจะให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนในพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2566โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาได้ดำเนินกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค อาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ใน จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ประกอบด้วยบุคคลากรและหน่วยงานที่มีความสำคัญเป็นแกนหลักได้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นโรงเรียนผู้นำหมู่บ้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งถือว่าเป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญของการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและการดำเนินงานดังกล่าวจะให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพนั้น ภาคีเครือข่ายต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านความรู้วิชาการ และทักษะการปฏิบัติงาน
เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพในพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงจัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม.ควบคุมโรคติดต่อตำบลทุ่งใหญ่ ปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ อสม.มีความรู้ สามารถให้คำแนะนำการดูแลและเฝ้าระวังเพื่อป้องกันโรคติดต่อให้กับตนเองและประชาชนในพื้นที่ของตำบลทุ่งใหญ่

 

0.00
2 2. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมความรู้การเฝ้าระวังป้องกันโรคและภัยสุขภาพให้กับเครือข่ายและชุมชน

 

0.00

1. เพื่อให้ อสม.มีความรู้ สามารถให้คำแนะนำการดูแลและเฝ้าระวังเพื่อป้องกันโรคติดต่อให้กับตนเองและประชาชนในพื้นที่ของตำบลทุ่งใหญ่
2. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน
3. เพื่อส่งเสริมความรู้การเฝ้าระวังป้องกันโรคและภัยสุขภาพให้กับเครือข่ายและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านประจำตำบลทุ่งใหญ่ 93

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (Event Base) การควบคุมโรคในชุมชน และปฏิบัติงานเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
การอบรมพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (Event Base) การควบคุมโรคในชุมชน และปฏิบัติงานเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน  93  คนๆละ 70 บาท x 1 มื้อ                 เป็นเงิน  6,510.- บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  93  คนๆละ 30 บาท x 2 มื้อ     เป็นเงิน  5,580.- บาท
    • ค่าสมนาคุณวิทยากร                            เป็นเงิน  1,200.- บาท
    • ค่าวัสดุประกอบการอบรม                    เป็นเงิน  9,858.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23148.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,148.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชุมชนสามารถจัดการกับปัญหาสุขภาพการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดจากกระบวนการของชุมชน ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานทางสาธารณสุข โดยใช้ความรู้และแนวทางที่เหมาะสม อันจะทำให้มีส่วนลดอัตราผู้ป่วยและควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรค


>