กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเตราะแก่น หมู่ที่ 5 ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านเตราะแก่น

หมู่ที่ 5 บ้านเตราะแก่น ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตหมู่ที่ 5 บ้านเตราะแก่น ตำบลแป้น ในปีงบประมาณ 2565 พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 109 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกาย เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ เรื่อง การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารและภาวะด้านอารมณ์ อันจะส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย การเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิต ในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความเศร้าใจ กังวลใจ น้อยใจ เสียใจ และการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยว เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุโดยศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการ มีการรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ มีการอบรมบรรยายในด้านการดำรงชีวิตโดยวิถีพุทธและส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุได้การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุต่อไป เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบปะพูดคุย รวมทั้งส่งเสริมเพิ่มพูนศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อให้สุขภาวะในทุกด้านแก่ผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางและจัดหางบประมาณมาสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นได้เข้าร่วมกิจกรรมโดยต่อเนื่อง เพื่อส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 บ้านเตราะแก่น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพชมรมผู้สูงอายุขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมด้านสุขภาพ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการพัฒนาศักยภาพเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมแกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 60  คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุมีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ADL มากกว่าร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีการพัฒนาตนเองในด้านการดูแลสุขภาพ
2. ผู้สูงอายุมีการพัฒนาศักยภาพเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ADL และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>