กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตันหยงมะลิด้วยผ้าขาวม้า ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรมอสม.ชุมชนตันหยงมะลิ

นางสมพิศ ว่องไว 089-6571560
นางอ้อยทิพย์ บุญลึก
นางปัทมา สังคทรัพย์
นางประไพ บุญสม
นางสุภาพร ศรีสุวรรณ์

ชุมชนตันหยงมะลิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) เป็นแนวโน้มที่ทุกชาติทั่วโลกหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ไว้ว่าทั่วโลกจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคนในปี พ.ศ. 2568 และ 2,000 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรโลกทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.24 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุ จำนวนวัยทำงานและวัยเด็กแรกเกิดลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
อัตราการพึ่งพิง ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า ประชากรวัยทำงาน 100 คน จะต้องรับภาระประชากรสูงอายุและวัยเด็ก 51 คน และคาดว่าเพิ่มเป็น 64 คน ในปี พ.ศ. 2570 จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 96.66 ติดบ้าน ร้อยละ 2.73 และติดเตียง ร้อยละ 0.62 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบ มักเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 15.55 โรคเบาหวาน ร้อยละ 9.84 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 7.72 ภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 0.88และภาวะหกล้ม ร้อยละ 3.12 ในปี พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มสูงถึง 2,018 คน หรือเฉลี่ยวันละ 6 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากถึง 1,046 คน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คน และร้อยละ 50 ผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาจากการหกล้มเสียชีวิตใน 1 ปี (กรมควบคุมโรค, เมษายน 2562)
ผู้สูงวัยมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทางร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ความสามารถเสื่อมถอยไปตามอายุ ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณจึงจำเป็นสำหรับผู้สูงวัย การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี จะประกอบด้วย 1) โภชนาการที่เหมาะสม 2) การออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันโรค 3) การนอนหลับที่เพียงพอ 4) การตรวจร่างกายประจำปี การได้รับวัคซีน และการหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น 5) การป้องกันอุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และการป้องกันการหกล้ม 6) การจัดการความเครียดที่เหมาะสม และ 7) การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ซึ่งในชุมชนตันหยงมะลิมีผู้สูงอายุที่อยู่บ้านเฉยๆ ไม่มีกิจกรรมทางสังคมร่วมกันชมรม อสม.ชุมชนตันหยงมะลิ จึงได้สอบถามความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งทางผู้สูงอายุต้องการมีกิจกรรมร่วมกันในสังคม โดยสนใจในเรื่องของการประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ และการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า ทาง ชมรม อสม.ชุมชนตันหยงมะลิ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเลือกใช้สมุนไพรและประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพได้

40.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่เกิดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีการออกกำลังกายโดยไม่เกิดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุในชุมชนตันหยงมะลิ 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประสานวิทยากรแพทย์แผนไทยจากรพ.สุไหงโก-ลก
2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นระยะเวลา 1 วัน
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน เปิดโครงการ
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่อง สมุนไพรเพื่อสุขภาพ วิทยากรโดย แพทย์แผนไทยจากรพ.
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่อง การประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ลดการเจ็บป่วยในผู้สูงวัย วิทยากรโดย แพทย์แผนไทยจากรพ.
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 20 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 20 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ สมุนไพรต่างๆ ลูกประคบ และอื่นๆ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 2 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยผ้าขาวม้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยผ้าขาวม้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุชุมชนตันหยงมะลิ 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประสานแม่แบบการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวมาเป็นผู้นำเต้น ใน 1 เดือนแรก
2. จัดโครงการเป็นระยะเวลา 3 เดือน (ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ช่วงเวลาประมาณเวลา 08.30 - 09.30 น.)
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนผู้นำเต้น ครั้งละ 1 ชั่วโมงๆละ 1 คนๆละ 300 บาท สัปดาห์ละไม่เกิน 3 ครั้ง รวมแล้วไม่เกินเดือนละ 3,600 บาท
2. ค่าผ้าขาวม้า 100 บาท x 20 คน เป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ไดรฟ์ใส่เพลง เป็นต้น เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าจัดซื้อลำโพง เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,100.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุในชุมชนสามารถเลือกใช้สมุนไพรและประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพได้
2. ผู้สูงอายุในชุมชนมีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่เกิดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย


>