กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา

-

ม.4 ม.5 ม.6 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึันไป ขาดความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน (คน)

 

60.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

10.83
3 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

16.67

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่และเป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่ สามารถป้องกันได้โดยการเรียนรู้เรื่องโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองเพราะเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากมายเช่นโรคหัวใจ ไตวาย ตาบอด เส้นเลือดสมองตีบ อัมพาต เป็นต้นการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาของชุมชนจำเป็นต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา ปี 2565 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 1,100 คนได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดัน จำนวน 1,034 คนคิดเป็นร้อยละ 94.0 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 112 คิดเป็นร้อยละ 10.83 และกลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 91 คนคิดเป็นร้อยละ 8.8 และประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเบาหวานจำนวน 1,307ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานจำนวน 1,212 คนคิดเป็นร้อยละ 92.73 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 202 คนคิดเป็นร้อยละ 16.67
นอกจากนี้กลุ่มป่วยความดัน เบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ปี 2565 ได้รับการคัดกรองCVD Risk (การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด) จำนวนทั้งสิ้น 136 คนคิดเป็นร้อยละ 90.07 ราย และจากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบนั่นคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2566ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีทักษะในการดูแลตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน

ประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไปมีความรู้และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ร้อยละ90

60.00 90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60

80.00 60.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและได้รับการส่งต่อตามมาตรฐาน

ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 60

90.00 60.00

เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง(10.83)
เพื่อให้ประชาชน35 ปีขึ้นไปไดรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 90
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำอสม.

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60คนๆละ 1 มื้อๆละ60บาทเป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60คนๆละ 2 มื้อๆละ25บาทเป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม
-กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 60 ใบๆละ 45 บาทเป็นเงิน 2,700 บาท -สมุดปกอ่อนจำนวน 60 เล่มๆละ 10 บาทเป็นเงิน 600 บาท -ปากกา จำนวน60 ด้ามๆละ 7 บาทเป็นเงิน420 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (output) : ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ80
ผลลัพธ์ (outcome) : ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และได้รับการคัดกรองความดัน เบาหวาน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10320.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ด้วยโรค Metabolic โดยใช้หลัก 3อ.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ด้วยโรค Metabolic โดยใช้หลัก 3อ.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรค Metabolic งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 90 คนๆละ 1 มื้อๆละ60 บาท เป็นเงิน5,400 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คนๆละ 2 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน4,500 บาท 3.ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม
-กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 90 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน4,050 บาท -กระดาษ A4จำนวน 2 รีมๆละ 145บาทเป็นเงิน290 บาท
-ปากกาจำนวน90 ด้ามๆละ7บาทเป็นเงิน 630 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (output) : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 80
ผลลัพธ์ (outcome) : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14870.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงเเละโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงเเละโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน/คัดกรอง CVD risk งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 90 คนๆละ 60 บาทจำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 5,400 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คนๆละ25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,500 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 3,600บาท 4.ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม
-กระเป๋าใส่ยาจำนวน 90 ใบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท -กระดาษ A4 จำนวน 2 รีมๆละ 145บาทเป็นเงิน 290 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (output) : ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 80
ผลลัพธ์ (outcome) : ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18290.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,480.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกียวกับโรคความดันและเบาหวาน สามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
-ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยความดันเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
-กลุ่มป่วยได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนและส่งต่อตามแนวทางรักษา


>