กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและมีแนวโน้มทวีความรุนแรง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปี ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน แต่ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแนก็กำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ และปัญหาขยะตกค้างต่างๆ ดังนั้น แนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยจากครัวเรือนโดยหลักการ 3 Rs ได้แก่ ๑) Reduce ๒) Reuse ๓) Recycle รวมทั้งสร้างแรงจูงใจด้านการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการร่วมกันคัดแยกขยะมูลฝอยอีกด้วย
ตำบลบาโงยซิแนเป็นตำบลขนาดเล็ก มีจำนวน 6 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 8,337 คน และจำนวน 1,463 ครัวเรือน จากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษในอากาศ ขยะมูลฝอยเกิดจากการหมักโดยจุลินทรีย์ในกองขยะจะทำให้เกิดก๊าซต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากไม่มีการกำจัดก๊าซเหล่านี้อย่าง นอกจากนี้ยังมีฝุ่นละอองจากกองขยะ ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณ ใกล้เคียง แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าว รวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้วแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ปี 2566 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยการนำแนวคิดเรื่องการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียก สำหรับใช้ในการคัดแยกและจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ซึ่งเป็นการลดขยะต้นทางด้วยการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนจะช่วยลดปัญหากลิ่นขยะเน่าเหม็นอันเป็นที่ไม่พึงประสงค์ของผู้คน อีกทั้งมีผลพลอยได้คือ ได้ปุ๋ยหมักไว้บำรุงดิน ปลูกพืชผัก ผลไม้ให้งอกงามและช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย รวมถึงการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนต่อไปโครงการอบรมให้ความรู้การจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 80

80.00 0.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากขยะในครัวเรือน

การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากขยะในครัวเรือนลดลง ร้อยละ 80

80.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ร้อยละ 80

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน 8,337

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการจัดการขยะเปียกในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการจัดการขยะเปียกในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 1.5*3.5 เมตร ๆ ละ * 300 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,575 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ (เช่น กระเป๋า แฟ้มใส่เอกสาร สมุด ปากกาฯลฯ) เป็นเงิน 8,000 บาท
    รวมเป็นเงิน 25,175 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและช่วยลดปริมาณขยะจากต้นทาง
  • ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากขยะในครัวเรือน
  • มีการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25175.00

กิจกรรมที่ 2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์การจัดทำถังขยะเปียก

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์และประชาสัมพันธ์การจัดทำถังขยะเปียก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และรณรงค์การจัดทำถังขยะเปียกให้ปก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน
ถังพลาสติกแบบมีฝาปิดเพื่อการสาธิตและการรณรงค์การจัดทำถังขยะเปียก ขนาดบรรจุ 12 ลิตร จำนวน 500 ใบ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำถังขยะเปียก
ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,175.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ
2. ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากขยะในครัวเรือน
3. ผู้เข้าร่วมอบรมทุกครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน


>