กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง

เขต รพ.สต.บ้านควนหมอทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีค่าความดันโลหิตที่มากกว่าเท่ากับ 140/90mmhg พบ 25รายคิดเป็นร้อยละ 52.08

 

52.08

โรคหลอดเลือดสมอง ( stroke ) และหลอดเลือดหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่่งประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นจากปัจจัยหลายประการได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ด้านอายุ เพศ และปัจจัยพฤติกรรม เช่นการออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยนี้ล้วนเป็นความเสี่่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการล่วงหน้าและเป็นภาวะวิกฤติของแต่ละบุคคล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมอาจเกิดสูญเสียชีวิต รวมทั้งเกิดการบกพร่องในการทำงานของอวัยวะที่สำคัญจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ได้ ตั้งแต่ปี 2563-2565 ร้อยละ 23.28,31.96,31.26 และจากข้อมูลสคร.12 โรคความดันโลหิตสูงของรพ.สต. บ้านควนหมอทองที่มีค่าความดันโลหิตมากกว่าเท่ากับ 140/90mmhg จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.08 ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความดันโลหิตสูงแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปี 2563-2565 ร้อยละ 42.85,14.20และ27.27ตามลำดับ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วย แกนนำ อสม.และส่่งเสริมให้ครอบครัวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทองจึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังเพื่่อให้ผู้ป่วยและแกนนำอสม. ครอบครัวและชุมชนได้มีความรู้และมีสุขภาพแข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

สามารถลดอัตราความดันโลหิตสูงที่มากว่า 140/90 mmhg ลดลงร้อยละ 10

0.00 10.00
2 เพื่อให้ผู้ป้วยเรื้อรังที่มีระดับความดันโลหิตสูงที่มากกว่า 140/90 mmhg สามารถประเมินภาวะเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

ผู้ป่วยเรื้อรังที่มีระดับความดันโลหิตสูงที่มากกว่า140/90 mmhg สามารถประเมิน CVD RISK ได้ ร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmhg ในระบบฐานข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmhg ในระบบฐานข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90mmhg ในระบบฐานข้อมูลร่วมกับเจ้าหน้าที่รพ.สต.และผู้รับผิดชอบงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ธันวาคม 2565 ถึง 9 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ข้อมูลสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้อสม.และเจ้าหน้าที่จำนวน 35คน เรื่องการใช้แบบประเมินคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง 2.ลงเยี่ยมบ้านย่องครัวในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmhg ในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 3,4,7,11,13 ตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
3.ตรวจวัดความเค็มอาหารที่บ้านผู้ป่วย พร้อมให้ความรู้ผู้ป่วยรายคน และให้ความรู้แก่แกนนำอสม.
4.ตัวอย่างอาหารเครื่องปรุงรสโซเดียมต่ำ
กิจกรรมที่1อบรมให้ความรู้อสม.และเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน และลงเยี่ยมบ้านย่องครัวในผู้ป่วยเรื้อรังโดยแกนนำ อสม. หมู่ที่3,4,7,11,13 ตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จำนวนหมู่ละ 6 คน รวม 30 คน และ เจ้าหน้าที่ 5คน รวม 35 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้จัด จำนวน 35 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทคิดเป็นเงิน 1,750 บาท
- ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ/ ผู้จัด จำนวน 35คนๆละ 1มื้อๆละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 1,750บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,500 บาท
กิจกรรมที่2. เครื่องวัดความเค็มในอาหาร 1 เครื่องราคา 1,000 บาท
- ค่าเอกสารคู่มือการอบรม 30 เล่ม ๆละ 30 บาท คิดเป็นเงิน 900 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 900 บาท
กิจรรมที่3.ตัวอย่างอาหารเครื่องปรุงรสโซเดียมต่ำจำนวน 20 ชุด คิดเป็นเงิน 1,900 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2565 ถึง 16 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกกรมติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกกรมติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ อสม. และเจ้าหน้าที่ ประเมินติดตามนำปัญหาที่ลงเยี่ยมครั้งแรกมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และลงเยี่ยมบ้านย่องครัวในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmhg ครั้งที่ 2 ในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 3,4,7,11,13 ตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
2.ตรวจวัดความเค็มอาหารที่บ้านผู้ป่วย เพื่อประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
กิจกรรมที่1.อบรมให้ความรู้ อสม.และเจ้าหน้าที่ประเมินติดตาม นำปัยหาที่ลงเยี่ยมครั้งแรกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และลงเยี่ยมบ้านย่องครัวในผู้ป่วยเรื้อรังโดยแกนนำ อสม. หมู่ที่3,4,7,11,13 ตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จำนวนหมู่ละ 6 คน รวม 30คนเจ้าหน้าที่ 5คน รวม 35 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ/ผู้จัด จำนวน 35 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทคิดเป็นเงิน 1,750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,750 บาท
- ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ/ ผู้จัด จำนวน 35 คนๆละ 1มื้อๆละ 50 บาท คิดเป็นเงิน 1,750บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2565 ถึง 23 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคหลอดเลือดสมอง
2.ผู้ป่วยและญาติที่ดูแลผู้ป่วยสามารถใช้แบบประเมินคัดกรองได้ถูกต้อง
3.แกนนำ อสม.มีความรู้สามรถคัดกรองโดยใช้แบบคักรองได้ถูกต้อง
4. บูรณาการการเยี่ยมบ้านย่องครัวแบบ3หมอ


>