กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหา ป้องกัน และควบคุมวัณโรค ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

1. นางแสงจันทร์ ช่วยแก้ว
2. นางพิศมัย ชัยฤทธิ์
3. นางอุบล กั้งยอด
4. นางโสภา ขวัญแก้ว
5. นายวิชิต อินทร์บัว

พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่องค์การอนามัยโลกจัดเป็นกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง ได้แก่ มีภาระโรควัณโรค (TB) วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี(TB/HIV) และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) สูง จากรายงานองค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2563 ได้คาดประมาณว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำประมาณ 105,000 ราย หรือคิดเป็น 150 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 10,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงถึง 11,000 ราย มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา2,500 ราย ซึ่งพบร้อยละ 1.7 ในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และร้อยละ 10 ในผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาวัณโรคมาก่อน จากผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 พบว่ามีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค (ผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ จำนวน 87,789 ราย คิดเป็นอัตราความครอบคลุมของค้นหาและขึ้นทะเบียนรักษา ร้อยละ 84 (87,789/105,000) โดยสาเหตุของอัตราความครอบคลุมของการค้นหาและขึ้นทะเบียนรักษาที่ตัวมีหลายประการ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคไม่เข้าสู่ระบบบริการซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการรายงานผู้ป่วยที่ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยชมรม อสม.รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไข้ปัญหาด้วยการจัดทำโครงการค้นหา ป้องกัน และควบคุมวัณโรคในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้กลุ่มให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองที่ถูกต้องร่วมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน และเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ โดยเน้นให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาที่รวดเร็ว เพื่อลดการติดเชื้อวัณโรคในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค ชี้แจงแบบคัดกรองวัณโรค และค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว

-กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับโรควัณโรค และสามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้ ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรควัณโรคในกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสร่วมบ้าน

-กลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสร่วมบ้านมีอัตราป่วยลดลง

10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 84
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผนโครงการและประชุมผู้นำชุมชน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนโครงการและประชุมผู้นำชุมชน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผนโครงการและประชุมผู้นำชุมชน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
-ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2565 ถึง 21 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 80
ผลลัพธ์
-กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการและเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 1. อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านหมู่ที่ 12 , 14 และหมู่ที่ 16 (รุ่นที่ 1) ณ หอประชุมหมู่บ้าน หมู่ที่ 14 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
2.ห้องประชุมรพ.สต.บ้านศาลาตำเสา อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 15 (รุ่นที่ 2)
โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค ชี้แจงแบบคัดกรองวัณโรค 2 วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริงของชุมชน มีโอกาสเสี่ยงอย่างไร ในกลุ่มเสี่ยงใด สถานที่แหล่งชุมชนที่เสี่ยง มีการแพร่ระบาดอย่างไร จำนวนผู้ป่วยในหมู่บ้านของตนเอง
3 แนะนำการปฏิบัติตัวในการออกติดตามเยี่ยมผู้ป่วย การแนะนำการปฏิบัติตัว การรับประทานยา เพื่อเป็นการดูแลเพิ่มเติมจากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติการ
ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมและผู้จัด จำนวน 85 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,125 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่าจ้างทำป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ความรู้โรควัณโรค ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 70 เซนติเมตร จำนวน 10 แผ่น แผ่นละ700 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
-ค่าจ้างทำป้ายโครงการ ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 518 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2565 ถึง 21 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค ผลลัพธ์
-กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12443.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายร่วมออกรณรงค์ และประชาสัมพันธ์การให้ความร่วมมือในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคในชุมชน โดยหากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติแนะนำให้ไปรับการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รพ.สต. เพื่อได้รับการตรวจและรักษาอย่างรวดเร็วต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองอย่างครอบคลุม และเกิดการตระหนักในเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
ผลลัพธ์
-กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 100
-ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างรวดเร็วทันเวลา และได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100
-ระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านและส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานโดย
1.สรุปผลคัดกรองและจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นกับพื้นที่
2.สรุปผลการดำเนินโครงการ -ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
-มีทะเบียนผลการคัดกรองและทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่
-สรุปผลการดำเนินงานส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวงได้ตามกำหนด
ผลลัพธ์
-มีฐานข้อมูลในการดำเนินงานปีงบประมาณต่อไปอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,443.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
2 ผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรคที่ตรวจพบได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
3 แกนนำ มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคและเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ


>