กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและภาวะซีด ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี

หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็ก 0-5 ปี ที่เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ(คน)

 

150.00
2 จำนวนเด็ก 6 เดือน-1 ปี ที่เฝ้าระวังภาวะซีด(คน)

 

20.00

ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยพบว่าในประเทศไทยพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางคิดเป็นร้อยละ 17.33 ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจางในเขตสุขภาพที่ 12 ปี 2558 - 2560 คิดเป็นร้อยละ 16.89, 17.33 และ 16.50 (วารสารกระทรวงสาธารณสุข, 2021) จะเห็นได้ว่าต้องได้รับการแก้ไข งานอนามัยแแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี จากข้อมูลแสดงถึงสภาพปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ปี 2565 พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางทั้งหมด 12 ราย สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดาเลือกรับประทานอาหารไม่เหมาะสมในช่วงการตั้งครรภ์ และการขาดความตระหนักในการรับประทานยาบำรุงครรภ์ ซึ่งพบได้จากการติดตามผลการตรวจเลือดครั้งที่ 1 และ 2 แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน เตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจในการวางแผนครอบครัว หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และยาบำรุงครรภ์ และเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง งานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอด ดังนั้น การที่จะลดปัญหาภาวะสุขภาพแม่และเด็กของตำบลหารเทานั้น การดูแลหญิงตั้งครรภ์นั้น ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ตั้งแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา การให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนบุคคลที่มีบทบาทในชุมชน เช่น องค์การบริการส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่สามารถดูแลอนามัยของแม่และเด็กและอยู๋ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด ตั้งแต่การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ การแนะนำให้ไปฝากครรภ์ทุกคน และการคลอดในสถานบริการ ดังนั้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับปัญหาสุขภาพของแม่และเด็ก และเพื่อแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.สต.บ้านฝาละมี ที่สำคัญหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลติดตามโดยชุมชนมีส่วน่ร่วมในการดูแล ตลอดจนการมีกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านฝาละมี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอนามัยแม่และเด็ก จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด สอดคล้องตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ร้อยละ 60 เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

40.50 80.00
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็ก 6 เดือน – 1 ปี

ร้อยละ 80 เด็ก 6 เดือน – 1 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจาง และส่งต่อในรายที่พบปัญหา

65.50 80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการและภาวะโลหิตจาง

ร้อยละ 80 ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการและภาวะโลหิตจาง

65.50 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 350
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในเด็ก รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

  1. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในเด็ก
  • ความสำคัญของอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน หรืออาหารที่ควรเพิ่มในเด็กผอม และอาหารที่มีธาตุเหล็ก - แนะนำเรื่องธงโภชนาการ - ฝึกปฏิบัติการจุดกราฟโภชนาการ

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 57 คน ๆ 30 บาทต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,420 บ.
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 57 คน ๆ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,990 บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บ.

2.ผู้ปกครองทำแบบสอบถามก่อนและหลังทำกิจกรรมภาวะโภชนาการและภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจางที่เกิดขึ้นในเด็ก

3.ติดตามค่าน้ำหนัก ส่วนสูง และภาวะซีด อย่างต่อเนื่อง ส่งต่อในรายที่พบปัญหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
2.เด็กมีภาวะซีดลดลง
3.ผู้ปกครองเด็กเลือกอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
4.เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9810.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เจาะเลือดตรวจสภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ (ครั้งแรก)
    • แนะนำ ให้ความรู้เรื่องโภชนากรแก่หญิงตั้งครรภ์
    • แนะนำการเฝ้าระวังอาการผิดปกติ ในระหว่างการตั้งครรภ์
      งบประมาณ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ 30 บาทต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บ.
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,400 บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ที่มีสภาวะซีดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม หนูสมส่วน ร่งกายสดใส”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม หนูสมส่วน ร่งกายสดใส”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ครู และเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบ ติดตามชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ทุกๆ เดือน ๆละ ๑ ครั้ง และ บันทึกข้อมูลลงโปรแกรม เพือเปรียบเทียบก่อนหลัก
    1. ติดตามเด็กที่มีถาวะผอม ในศพด.ที่บ้าน เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครอง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การบันทึกข้อมูล เปรียบเทียบก่อน - หลัง เด็กที่ภาวะผอม
  • เด็กการพัฒนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,810.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
2. เด็ก 6 เดือน – 1 ปีได้รับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางและส่งต่อในรายที่พบปัญหา
3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการและภาวะโลหิตจาง


>