กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กตำบล วังประจัน 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

ชมรม อสม. ตำบลวังประจัน

1. นาง อาซีซ๊ะละใบโดย
2. นาง สุวรรณีบูอีตำ
3. นางสาว ณัฐฌารูบามา
4. นาง กอดาน๊ะ เหมสลาหมาด
5. นางสาว อีฉ๊ะหมันเส็น

ตำบลวังประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของทารกน้ำหนัก ต่ำกว่า 2500 กรัม

 

8.50
2 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้า

 

13.70
3 ฝากครรภ์ ไม่ครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์

 

14.53

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลวังประจันซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพหญิงวัยเจรฺิญพันธ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอด/หลังคลอดมีคุณภาพแข็งแรงไม่เกิดโรคภาวะแทรกซ้อน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ไม่เกินร้อยละ 7 จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในปี 2565 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ภาพรวมได้ ร้อยละ 8.5 และ อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยในไตรมาส 2 ร้อยละ 11.4 และ พบว่า วัยรุ่นตั้งครรภ์ ร้อยละ 18.03 และ พบว่า ในสถานการณ์ ปัจจุบันพบว่า มารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตร ด้วยนมแม่ วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อน จากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้มีอายุเกินกว่า 20 ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์การคลอดก่อนกำหนดเจ็บครรภ์คลอดนาน เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด และ มีภาวะตกเลือดหลังคลอดในแม่วัยรุ่น 1 ราย เนื่องจากฝากครรภ์ช้า มีภาวะอ้วนมาก่อน แต่ได้รับการแก้ไขไม่ทัน เพราะ ฝากท้องช้ามาฝากครรภ์ ตอน อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ และ วัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติ หรือ ผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสมซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมา นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรฐกิจและสังคมอีกด้วย คือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และ การเลี้ยงดูบุตรที่เกิดมา ผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และ สังคมไทยในภาพรวม ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงและส่งผลต่อสุขภาพแม่และเด็กดังนั้น ทางชมรม อสม.ตำบลวังประจันจึงต้องจัดทำ และดำเนินการโครงการนี้ เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก รวมถึง ผู้ดูแลเด็ก ในพื้นที่ตำบลวังประจันเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และ สร้างคนคุณภาพ ไทย 4.0 ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สืบเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อดูแลหญิงวัยเจริญพันธ์ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง

1.วางแผนก่อนการตั้งครรภ์ เข้ารับ สมัคร โครงการ สาววัง แก้มแดง ณ. รพ.สต วังประจัน ร้อยละ 90

0.00 0.00
2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองและทารกแรกเกิด

2.มารดาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพทารกแรกคลอดมีน้ำหนักได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 93

ร้อยละ ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ไม่เกิน 7

0.00 0.00
4 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ ครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

14.53 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม ชี้แจง คืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
ประชุม ชี้แจง คืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุม คืนข้อมูล จัดทำแผนสุขภาพ

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผุู้ดำเนินงาน จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 1200 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30บาทเป็นเงิน 600 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนสุขภาพ ชมรม อสม.นำแผนไปปฏิบัติงานในเขตรับผิดชอบของตนเอง /การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ มากกว่า ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 2.ให้ความรู้ เรื่องเมนูอาหาร พื้นบ้านเพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ /หญิงหลังคลอด /ผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
2.ให้ความรู้ เรื่องเมนูอาหาร พื้นบ้านเพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ /หญิงหลังคลอด /ผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตเมนูอาหารพื้นบ้าน โดย นักโภชนาการ

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 3000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน1,000 บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เมนูอาหารพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด / น้ำหนักทารกแรกคลอด ต่ำกว่า 2500 กรัม ไม่เกิน ร้อยละ 7

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย

ชื่อกิจกรรม
สร้างแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดเลือกแม่ต้นแบบ และลูกจำนวน 10 ราย จาก งานฝากครรภ์ รพ.สต.วังประจัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแม่ต้นแบบ/ เป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ ก่อนตั้งครรภ์, ขณะตั้งครรภ์, หลังคลอด , การเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา อย่างน้อย 6 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรม พิธี มอบเกียรติบัตรและมอบรางวัลให้กับแม่ต้นแบบ และสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม พิธี มอบเกียรติบัตรและมอบรางวัลให้กับแม่ต้นแบบ และสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเช่าเต้นท์พร้อมโต๊ะและเก้าอี้ จำนวน1หลัง เป็นเงิน 1,500 บาท

-มอบเกียรติบัตรให้กับแม่ต้นแบบ จำนวน 10 ราย

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงานจำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแม่ต้นแบบในชุมชนเป็นแกนนำในการ ส่งเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ วัยเจรฺิญพันธ์ , การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ , การตั้งครรภ์คุณภาพ , หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน / ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 90 , หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ , ร้อยละทารกแรกคลอดน้้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงวัยเจริญพันธ์สามารถ วางแผนดูแลสุขภาพตนเอง ก่อนการตั้งครรภ์ได้
2.หญิงตั้งครรภ์/หลังคลอดสามารถดูแล สุขภาพตนเองได้
3.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์/หลังคลอด
4.เด็กแรกเกิดต่ำกว่า 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว
5.ทารกแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ลดลง
6.ไม่มีหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ หลัง 12 สัปดาห์
7.ชุมชน มีแผนการดูแล หญิงวัยเจริญพันธ์ / หญิงตั้งครรภ์ / หญิงหลังคลอด /ทารกแรกคลอด อย่างต่อเนื่อง และ ยั่งยืน


>