กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการ "ชะลอไต ชะลอวัย" ในกลุ่มเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี

หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 11ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

10.00

จากสถานการณ์โรคไตของประเทศไทยว่า สมาคมโรคไตคาดการณ์ว่าขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย 2 แสนคน มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 คน ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเพียงปีละ 400 รายเท่านั้น โดยใช้เวลารอประมาณ 3 ปี มีผู้เสียชีวิตจากไตวายปีละ 13,000 กว่าคน ซึ่ง 1 ใน 3 อายุน้อยกว่า 60 ปี ผู้ป่วยไต 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณถึง 3 พันล้านบาท และคาดว่าในปี 2560 อาจต้องใช้งบประมาณถึงกว่า 17,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันภาครัฐให้สิทธิประชาชนทุกคนในการฟอกไตผ่านช่องท้องฟรี นอกจากนี้เมื่อป่วยยังทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง เสี่ยงการติดเชื้อแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติด้วย
จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ โรงพยาบาลพัทลุงและโรงพยาบาลปากพะยูน พบว่า อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2565มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 555 คน เริ่มมีภาวะไตเสื่อม CKD ≥ Stage 4 และผู้ป่วยจำนวน 180 คนที่มีภาวะไตเสื่อมระดับ 3B คิดเป็นร้อยละ 32.43 จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อลดการฟอกไตในอนาคตกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำแนวทางการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสาขาโรคไต มีเป้าหมายใน 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2560- 2565 เพื่อลดกลุ่มเสี่ยง ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ เพิ่มการเข้าถึงบริการโรคไตที่มีคุณภาพเสมอภาคทุกเครือข่ายกลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการผู้ดูแลช่วยชะลอไตวายในผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมและป้องกันไม่ให้ไตวายอันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในเวลาต่อมาด้วยสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยไตในเขต รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมีมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และโรคไตมีแนวโน้นเพิ่มขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมากลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรค หรือมีภาวะของโรคอยู่ในร่างกาย เมื่อตรวจพบจนการดำเนินของโรคเข้าสู่ระยะรุนแรง จะไม่สามารภถพยุงอาการและไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อการเฝ้าระวังและคัดกรองภาวะไตของกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งถือเป็นกลุ่มวัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ร้อยละ100 ของกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรมได้รับการคัิดกรองภาวะไต

56.00 100.00
2 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

10.00 5.00
3 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่เหมาะสม เพื่อชะลอภาวการณ์เกิดโรคไต ชะลอวัยในกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรการปฏิบัติตนที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

56.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 250
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อสม. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อค้นหา คัดกรอง ประเมินผล และติดตาม ผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน เพื่อชะลอการเกิดภาวะไตก่อนวัยอันควร

ชื่อกิจกรรม
อสม. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อค้นหา คัดกรอง ประเมินผล และติดตาม ผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน เพื่อชะลอการเกิดภาวะไตก่อนวัยอันควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่อสม. เพื่อค้นหา คัดกรอง ประเมินผล และติดตาม ผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน เพื่อชะลอการเกิดภาวะไตก่อนวัยอันควร
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆ ละ70 บาท จำนวน1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆละ 30 บาทต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถไปแนะนำกลุ่มเสี่ยงให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่เหมาะสม เพื่อชะลอภาวการณ์เกิดโรคไต ชะลอวัยในกลุ่มเสี่ยง
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อม CKD ≥Stage 3มีอัตราการลดลงของ eGFR <4 ml/min/1.73m2/yr มากกว่าร้อยละ 60
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกวิธีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ญาติและประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกวิธีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ญาติและประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกวิธีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ญาติและประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ ละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 30 บาทต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
3.ค่าวิทยากรจำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าวัสดุในคัดกรอง
- ค่าเครื่องวัดความดัน อัตโนมัติแบบแสดงภาวะความดันโลหิต และการเต้นของหัวใจ จำนวน 3 เครื่องๆละ 3,700 บาท เป็นเงิน 11,100 บ.
- เครื่องตรวจระดับน้ำตาล 3 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
- แถบตรวจระดับตาลจำนวน 5 กล่องๆละ 450 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
- เข็มเจาะเลือดจำนวน 5 กล่องๆละ 130 บาท เป็นเงิน 650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่ายโรคเรื้อรัง ญาติ และประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง มีความรู้เรื่องพฤติกรรมการอาหารที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม.แต่ละชุมชน มีความรู้ และสามารถค้นหา คัดกรอง ประเมินและติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆในชุมชน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
2.ผู้ป่ายโรคเรื้อรัง ญาติ และประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง มีความรู้เรื่องพฤติกรรมการอาหารที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น
3.อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในเขตรับผิดชอบลดลง


>