กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก รพ.สต.บ้านฝาละมี ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก รพ.สต.บ้านฝาละมี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี

หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

18.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

25.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

15.00

ปัจจุบันพบว่าคนในชุมชนป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคนี้เป็น “ภัยเงียบ” รวมทั้งยังเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมา จากการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น และเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญของร่างกายหลายระบบ เช่น ตา ไต หัวใจ เท้า เป็นต้น จาก การดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของ รพ.สต.บ้านฝาละมี ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 457 คนในปี 2565 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 315 คน คิดเป็นร้อยละ 66.31 ผลการคัดกรองปกติ จำนวน 198คน คิดเป็นร้อยละ 62.85 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 76 คนคิดเป็นร้อยละ 24.12 กลุ่มสงสัยป่วย 11 คน คิดเป็นร้อยละ 3.49 กลุ่มป่วย 30 คน คิดเป็น 9.52 และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 325 คน ผลการคัดกรองปกติ 206 คนคิดเป็นร้อยละ 63.38 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 75 คน คิดเป็นร้อยละ 23.07 กลุ่มสงสัยป่วย 14 คนคิดเป็นร้อยละ 4.30 กลุ่มป่วย 30 คน คิดเป็นร้อยละ 9.23 ตามลำดับจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มต่อการเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและอาหารจานด่วนของคนในชุมชนหารเทาซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่หาได้ง่าย จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ร้อยละ 65 ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ55 มีการดื่มสุรา ร้อยละ 30 และสูบบุหรี่ ร้อยละ 25 ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาการแกงถุง อาหารนอกบ้าน และมีงานเทศกาลต่างๆ มากกมาย ทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย หรือดูแลตนเองไม่มีการคำนึงถึงพลังงานที่ควรได้รับ ส่งผลให้มีการสะสมไขมัน เกิดภาวะอ้วนลงพุงเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามมาและในปี 2563ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงไปแล้วทั้งหมด 50 คน พบว่า กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่ดีขึ้น ร้อยละ 35 มีน้ำหนักลดลง ร้อยละ 45 มีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52 มีระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในภาวะปกติเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 มีการควบคุมรtดับความดันโลหิตให้ดีขึ้น ร้อยละ 30 ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ดีต่อประชาชนในพื้นที่
จากข้อมูลดังกล่าว รพ.สต.บ้านฝาละมีพบว่าจำนวนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นผลจากการคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้นแต่ขณะเดียวกัน หากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคจากผลการคัดกรองไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และเมื่อมีความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความเครียด ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจได้ในอนาคต และในกลุ่มที่ป่วยแล้วต้องมีการดำเนินการไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปจึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน รพ.สต.บ้านฝาละมี ปี 2566 ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการคัดกรองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและเพิ่มทักษะการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สำหรับกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และในกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการดูแลและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 จำนวน 570คน

85.00 90.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 90

85.00 90.00
3 เพื่อติดตามและสร้างแรงจูงในในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลและติดตามร้อยละ 100

85.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 750
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม ชี้แจงแนวทางการ จัดกิจกรรมตามโครงการ แก่คณะทำงานจำนวน 50 คน
มีค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาทต่อมื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงาน มีความรู้ ความเข้าใจแนวทาง วัตถุประสงค์ของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม เฝ้าระวัง ต่อการเกิดโรค ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจัดหาวัสดุในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดหาวัสดุในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน
1.ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันดังนี้
-ค่าจัดทำเอกสาร/แบบคัดกรองโรคฯ จำนวน 800 ชุดๆ 1 บาท เป็นเงิน 800 บาท
-เครื่องตรวจระดับน้ำตาล 3 เครื่องละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
-แถบตรวจระดับตาลพร้อมเข็มเจาะ 800 ชุด ๆ ละ 9 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
-เครื่องวัดวามดันโลหิตแบบแสดงภาวะหัวใจ 3 เครื่องๆ ละ 3,700 บาท เป็นเงิน 11,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา (3 อ. 2 ส) สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา (3 อ. 2 ส) สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 50 คน
วิธีดำเนินการ ดังนี้
1. ลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่มีความพร้อมและสมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
2.ตรวจสุขภาพเบื้องต้น บันทึกในสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง
3.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน
4.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารลดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 3 อ 2 ส
5.เข้ากิจกรรมกลุ่ม Work shop3 ฐาน (อาหารลดหวาน มัน เค็ม)
งบประมาณ
-ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ไวนิลโครงการ) เป็นเงิน 1,200 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คน ๆ 600 บาท ต่อชั่วโมง จำนวน 4 ชม. เป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 30 บาท x 50 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
จัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าจัดอุปกรณ์ออกกำลังกาย
- จักรยานออกลังกายจำนวน 1 คัน ๆ ละ 13,500 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ ดังนี้
1.ติดตามประเมินผลแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยง

2.ติดตามลงเยี่ยมบ้านพร้อมนักโภชนากร สุ่มตรวจหวานเค็ม ในครัวเรื่อน โดยใช้อุปกรณ์เครื่องวัดหวาน เค็ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะกรรมการในการสรุปผลดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการในการสรุปผลดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม สรุปผลการดำเนิน ตามโครงการ แก่ คณะทำงานจำนวน50คน

มีค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครืองดื่มจำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท/มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2566 ถึง 30 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติ ทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามและฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60
ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากกว่าร้อยละ 20 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


>