กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอด ทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรค ไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
เทศบาลตำบลตะโหมดเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐาน ได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลตะโหมดจึงได้จัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การป้องกันล่วงหน้าก่อนการเกิดโรค - ประะสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- แต่งตั้งคณะทำงานควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว(SRRT)
- จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ แจกแผ่นพับ ทรายอะเบท และคว่ำลูกน้ำยุงลายเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพ่นยาในพื้นที่เสี่ยง เช่น วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกวันศุกร์เพื่อให้ความรู้ และขอความร่วมมือประชาชนดูแลสภาพแวดล้อมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 การป้องกันและควบคุมขณะเกิดโรคระบาด - ทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ลงพื้นที่สอบสวนโรคภายใน 24 ชม. - ทีม อสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือน คว่ำลูกน้ำยุงลาย ใส่ทรายอะเบท เพื่อตัดวงจรและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
- พ่นยาเพื่อกำจัดยุงลายรัศมี 100 เมตรรอบบ้านผู้ป่วย จำนวน 3 รอบ (วันที่ 1,3 และ7 วัน)
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ไข้เลือดออก จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 576 บาท เป็นเงิน 1,152 บาท - ค่าจัดซื้อทรายอะเบท จำนวน 1 ถัง ๆ ละ 4,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าน้ำยาพ่นกำจัดยุง จำนวน 2 ขวด ๆละ 1,650 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์คว่ำลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าจัดซื้อเครื่องพ่นละอองฝอยจำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 85,000 บาท
รวมเป็นเงิน96,452บาท ( เก้าหมื่นหกพันสี่ร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
96452.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 96,452.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง


>