กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสาเรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผักเพื่อชีวิต อาหารเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสาเรง

กลุ่มสตรีตาราแดะ บันนังสาเรง

1. นางสาวภิรมยาบาระนิบง

ชุมชนตำบลบันนังสาเรง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ

 

95.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

70.40
3 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะอ้วน

 

5.23

จากการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปัญหาด้านอาหารและโภชนาการของชุมชนตำบลบันนังสาเรง ในปี 2565 พบว่า ร้อยละ 70.4 ของครัวเรือนในพื้นที่มีการทำการเกษตรแบบปลอดภัย แต่ปรากฎว่าประชาชนยังมีปัญหาสุขภาพและอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่ออย่างต่อเนื่อง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคในชีวิตประจำวันที่มีการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารมีการปลอมปนสารเคมี หรือผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน
กลุ่มสตรีตาราแดะ ซึ่งเป็นแม่บ้านและสตรีที่รวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ได้ตระหนักในความสำคัญและเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการผักเพื่อชีวิต อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้มีความรู้ เห็นความสำคัญของหลักโภชนการเพื่อสุขภาพ มีความรู้เกี่ยวกัประโยชน์ของพืชผักพื้นบ้าน และสามารถนำมาประกอบอาหารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและต้านโรค ได้อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มครัวเรือนที่สามาชิกมีอาหารบริโภคครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) ครบ 3 มื้อ

ร้อยละของครัวเรือที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ

95.00 100.00
2 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วน

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะอ้วน

5.23 3.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์ เพิ่มขึ้น

70.40 80.25
4 เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการหลักโภชนาการ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม เห็นประโยชน์ความสำคัญของการปลูกผัก สมุนไพร

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการ มีความรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพร และมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม

65.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพือ่วางแผนดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพือ่วางแผนดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพือ่วางแผนดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการวางแผนดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 - อบรมความรู้เกี่ยวกับการหลักโภชนาการ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม เห็นประโยชน์ความสำคัญของการปลูกผัก สมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
- อบรมความรู้เกี่ยวกับการหลักโภชนาการ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม เห็นประโยชน์ความสำคัญของการปลูกผัก สมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมความรู้เกี่ยวกับการหลักโภชนาการ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม เห็นประโยชน์ความสำคัญของการปลูกผัก สมุนไพร

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน20 คน จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 35 บาทเป็นเงิน1,400 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน20 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท เป็นเงิน1,500 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท

  • ค่าป้ายโครงการขนาด 2 ตารางเมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 700 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 50 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับการหลักโภชนาการ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม เห็นประโยชน์ความสำคัญของการปลูกผัก สมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 3 2. กิจกรรมปลูกผัก สมุนไพรริมรั้ว

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมปลูกผัก สมุนไพรริมรั้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมปลูกผัก สมุนไพรริมรั้ว

งบประมาณ -  เมล็ดพันธ์ผัก  100 ซอง 25 บาท                    เป็นเงิน     2,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
  • เกิดการเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกัน
  • เกิดแปลงผักปลอดสารพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ต้านโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ต้านโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ต้านโรค

งบประมาณ
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม
                       เป็นเงิน       1,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน  20 คน จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท                เป็นเงิน    1,400 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน  20 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท
                          เป็นเงิน    1,500 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท        เป็นเงิน    3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดเมนูสุขภาพ

  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่ดีขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 . กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการหลักโภชนาการ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม เห็นประโยชน์ความสำคัญของการปลูกผัก สมุนไพร และมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม

2 . ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดระบบอาหาร มีแหล่งอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น

3 . กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ต้านโรค


>