กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

อสม. หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี

สมใจพรหมจินดา
ภคนันท์ละอองวัลย์
สมมาตรเกตุหมุหย๊ะ
ผินนุ่นมี
ละม่อมมณีสุวรรณ

หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

45.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

40.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

15.00

กลุ่มโรค NCDs (non-communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ได้แก่ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองโรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง และโรคอ้วนลงพุง
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน สังคมไทยมีความซับซ้อนในการดำรงชีวิต ด้วยข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่หลากหลาย และระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การพัฒนาสมรรถนะให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย เพื่อเพิ่มความสามารถของประชาชนให้สามารถควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บรรลุสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการสร้างสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส.
จากข้อมูลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 2 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2564 - 2565 พบว่า ผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านฝาละมีคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564 ร้อยละ 86.68 พบเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 4.55 และการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปี 2565 ร้อยละ 92.78 พบเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 2.08 ส่วนผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ตั้งแต่ปี 2564 - 2565ร้อยละ 87.19 และ 94.95ตามลำดับ พบเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน ร้อยละ 1.37 และ 1.67 ตามลำดับ มารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 100 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง)
กลุ่ม อสม. หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมีได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค3อ. 2ส.
เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มดังกล่าวมีสุขภาวะที่ดีจึงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังทุกกลุ่ม การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษา/ดูแลด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่องอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชน บ้านชุมแสง จึงดำเนินการจัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชุมชนหมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี ปีงบประมาณ 2566” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตประจำวันที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80     ผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชนประกอบเมนูชูสุขภาพอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทาน ร้อยละ 50

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามหลัก 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด)

กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ร้อยละ 50

30.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน และจัดเวทีประชาคม

ชื่อกิจกรรม
แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน และจัดเวทีประชาคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน รายละเอียดกิจกรรม - แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน - จัดเวทีประชาคม งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมเป็นเงิน 500บาท 3. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลข้อตกลงชุมชน 3 x 2 ตารางเมตรเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดคณะกรรมการในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย - ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 50 คน - คณะทำงาน 20 คน กำหนดการอบรมดังนี้ 07.00 น. – 08.00 น.ลงทะเบียน/คัดกรองเบาหวานความดัน 08.00 น. – 08.00 น. พิธีเปิดโครงการ 08:30 น. – 09:00 น. ประเมินความรู้ก่อนอบรมให้ความรู้ 09.00 น. – 10.00 น.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องโดยวิทยากร 10.00 น. – 12.00 น. อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตสูง เน้นเรื่อง 3อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2ส. (สุรา สารเสพติด) โดยวิทยากร 12.00 น. – 13.00 น.พักกลางวัน 13.00 น. – 15.00 น. อบรมแลกเปลี่ยนความรู้เมนูอาหารชูสุขภาพในกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร “เมนูคู่ผู้บริโภค ใส่ใจสุขภาพ” เมนูอาหาร ลด หวาน มัน เค็ม และการเลือกอาหารชูสุขภาพในชุมชน โดยวิทยากร 14.30 น. – 16.00 น. ประเมินผลการอบรม / โครงการ 16:00 น.ปิดโครงการ งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 2,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 5 ชม. x 1 วันเป็นเงิน 3000 บาท  5. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลโครงการ 3 x 1.8 ตารางเมตรเป็นเงิน 1,350 บาท 6. ค่าจัดทำคู่มือสุขภาพ 40 บาท x 50 เล่ม เป็นเงิน 2,000 บาท 7. ค่าจ้างสื่อประชาสัมพันธ์ (สติ๊กเกอร์ร้านอาหารชูสุขภาพ) 50 บาท x 20 แผ่น เป็นเงิน 1,000 บาท 8. เครื่องวัดความดันโลหิต 2 เครื่อง x 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท 9. เครื่องตรวจวัดน้ำตาลและชุดแถบเจาะน้ำตาลในเลือด 2 เครื่อง x 2,500 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นจากแบบประเมินความรู้หลังการอบรม ร้อยละ 80     ร้อยละร้านอาหารที่มีเมนูชูสุขภาพให้เลือกบริโภค ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25850.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน รายละเอียดกิจกรรม 1. ติดตามประเมินความรู้โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 1 มื้อ      เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มากกว่าร้อยละ 80
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และการงดสูบบุหรี่ ดื่มสุราได้อย่างถูกต้อง
4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีศักยภาพและความสามารถในการบริการเชิงรุกในชุมชนเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของครอบครัวและชุมชนได้
5. เกิดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนและมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
6. ผู้ประกอบการร้านอาหารในชุมชนประกอบเมนูชูสุขภาพอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทาน


>