กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.สต.น้ำขาวปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.น้ำขาว

1. นางสมฉลวยศรีมณี
2. นางดำรัสนิ่มละออง
3. นางอาภรณ์ปิยะรัตน์
4. น.ส.จินดาคงทอง
5. นางวนิดาอุปมล

หมู่ที่ 1 , 3 , 5 , 6 , 9 และ 10ตำบลน้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

66.75
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

27.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

24.00

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางประชากรอัตราการเกิดและอัตราการตายลดลงพร้อมกับอายุคาดเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นของคนไทย ทำให้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยในระยะเวลาอันสั้นซึ่งการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรภาวะพึ่งพิง ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ การรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายในสังคมต้องมีการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้อย่างบูรณาการลงไปสู่การดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยง
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2559 – 2579) โดยมีเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุ (active and health ageing) คือ ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง ดำรงชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ คือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคม โดยมีมาตรการพัฒนาบริการสุขภาพและสังคม เน้นให้มีชมรมผู้สูงอายุทุกตำบลในรูปแบบต่าง ๆ มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและโรงเรียนผู้สูงอายุและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ จากมาตรการและแนวคิดการใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่กระทรวงสาธารณสุขคาดหวังในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ
จากการคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วย ADL จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 93.38 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม 366 คน ร้อยละ 93.13 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 27 คน ร้อยละ 6.87 (กลุ่มติดบ้าน 12 คน ร้อยละ 3.05 และกลุ่มติดเตียง15 คน ร้อยละ 3.82)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

27.00 26.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

24.00 27.00
3 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

66.75 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 412
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมประจำเดือนของชมรมผู้สูงอายุ ทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน x 25 บาท x 10 เดือนเป็นเงิน 10,000 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมเป็นเงิน 1,000 บาท
  2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและภาวะสุขภาพ จำนวน 1 ครั้ง
    • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 50 บาท x 40 คนเป็นเงิน2,000 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 40 คนเป็นเงิน2,000 บาท
  3. ประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมผู้สูงอายุ
  4. ประชุมใหญ่สมาชิกประจำปี และแนะนำการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อลดการเจ็บป่วย
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 100 คนเป็นเงิน5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ร่วมเยี่ยมให้กำลังใจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุที่ภาวะพึงพิงทุกคนได้รับการเยี่ยม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลกิจกรรมที่ทำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี สามารถดำรงชีวิตด้วยความสุข ตามอัตภาพ
2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลและได้รับความช่วยเหลือตามสภาพ


>