กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสากู้ชีพใกล้บ้านใกล้ใจ เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

ชมรมอาสากู้ชีพตำบลเทพา

1. นางสาวเส๊าะ หัดขะเจ
2. นางสาวอาซีซ๊ะหมูณี
3. นางสาวกมลชนกสาลี
4. นางสาวไซตนอาหลี
5. นายศตวรรษมูนี

ตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ช่วงเวลาที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่าอัตราการป่วยตายของคนไทยมีสาเหตุสำคัญเกิดจากโรคภัยที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเรียกว่าพฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การอุปโภคบริโภค การขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น การขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ไม่ปลอดภัยจนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ นับเป็นความสูญเสียอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปี 2564 พบว่าประเทศไทย จำนวน 13,845 ราย จังหวัดสงขลา 131 ราย อำเภอเทพา 8 ราย และผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
ของพื้นที่ตำบลเทพา จำนวน 172 ครั้ง เป็นอันดับที่ 1 ของอำเภอเทพา อุบัติเหตุเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ขับขี่ (2) ปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ (3) ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และ (4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการการเข้าถึงความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว อุบัติเหตุที่เป็นผลมาจากปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหาย นับว่าเป็นภัยอย่างร้ายแรงที่จะส่งผลเสียหายต่อสังคมในภาพรวม
ทางชมรมอาสากู้ชีพตำบลเทพา จึงเห็นความสำคัญและได้นำเสนอโครงการอาสากู้ชีพใกล้บ้านใกล้ใจ เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในชุมชน มีการเข้าถึงการช่วยเหลือที่รวดเร็ว และส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครภาคประชาชนมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน

อาสาสมัครภาคประชาชน สามารถเป็นผู้ประสานงานในการช่วยเหลือเหตุอุบัติเหตุทางถนน 1 คน/หมู่บ้าน

65.00 80.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในชุมชน

มีการติดตั้งป้ายจุดเสี่ยงต่างๆครอบคลุมทุกพื้นที่ -ประชาชนมีการสวมหมวกนิรภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

17.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/11/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม

ชื่อกิจกรรม
อบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 8 คน  x 5 วัน x 2 มื้อ X 30 บาท   เป็นเงิน 2,400 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 8 คน  x 5 วัน x 1 มื้อ x 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากรภายนอกตำบล จำนวน 1 คน  x 5 วัน x 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท 4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาดกว้าง 1 x  2 ตร.ม.x 150 บาท x 1 แผ่น  เป็นเงิน 300 บาท 5. ค่ากระเป๋าผ้า อุปกรณ์เครื่องเขียน พร้อมเอกสาร จำนวน 8 ชุด x 100 บาท  เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 พฤศจิกายน 2565 ถึง 18 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24300.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์และประชาสัมพันธ์การขับขี่อย่างปลอดภัย และติดตั้งป้ายจุดเสี่ยงต่างๆในพื้นที่ตำบลเทพา

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์และประชาสัมพันธ์การขับขี่อย่างปลอดภัย และติดตั้งป้ายจุดเสี่ยงต่างๆในพื้นที่ตำบลเทพา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ติดตั้งจุดเสี่ยงในพื้นที่ตำบลเทพา ขนาดกว้าง 1.5 x  3 ตร.ม.x 150 บาท x 8 แผ่น  เป็นเงิน 5,400 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 100 คน  x 1 วัน x 1 มื้อ X 30 บาท   เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครภาคประชาชนมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน
2. ชุมชนมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลง


>