กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดี พัฒนาการดีสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ฝ่ายอำนวยการ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง ในพื้นที่ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 2-6 ปี ที่มีน้ำหนักไม่ได้ตามเกณฑ์

 

33.94
2 ร้อยละของเด็ก 2-6 ปี ที่มีภาวะเสี่ยงต่อฟันผุ

 

50.00
3 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

15.25
4 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

33.94

รัฐบาลมีความตระหนักว่าเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด ถึง ๕ ปี การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ช่วงแรกเกิด ถึง ๗๒ เดือน เป็นช่วงระยะเวลาที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์ นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็วแล้ว สมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วย ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก เช่น สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูโดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็ก ที่ผ่านการเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่สำคัญ รวมถึงการติดตามพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย เช่น รูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง ของเด็กให้เหมาะสมตามวัย เพื่อติดตามดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและมีคุณภาพสำหรับผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิด ถึง ๗๒ เดือน ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี ส่วนใหญ่การเจริญเติบโต ทางด้านร่างกาย และพัฒนาการด้านต่างๆ เป็นไปตามพัฒนาการของเด็กตามธรรมชาติ ตามพันธุกรรมที่ได้รับจาก พ่อ แม่ เท่านั้น ยังขาดการกระตุ้นและการส่งเสริมที่ถูกต้องตามหลักการเลี้ยงดู

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

เด็กปฐมวัย ศพด.ในพื้นที่ตำบลฝาละมี ร้อยละ 90 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

66.16 90.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาสมวัย

เด็กปฐมวัย ศพด.ในพื้นที่ตำบลฝาละมี ร้อยละ 90 มีทักษะในการเคลื่อนไหวตามเกณฑ์อายุ

74.75 90.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย มีฟันผุลดลง

เด็กปฐมวัย ศพด.ในพื้นที่ตำบลฝาละมี ฟันผุ ไม่เกินร้อย 10

50.00 10.00
4 เพื่อลดความเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการ ในกลุ่มเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัย ศพด. ในพื้นที่ตำบลฝาละมี มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ ไม่เกิน ร้อยละ 10

33.94 10.00

1.เพื่อให้ผู้เรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการเคลื่อนไหวตามวัย
3.เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 212
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกกรม 1) กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ให้กับผู้ประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัย 2) กิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย
3) การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประจำทุกเดือน ค่าใช้จ่าย 1)ค่าไวนิล (ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร) เป็นเงิน 600 บาท 2)ค่าวิทยากรจำนวน1 ท่านๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 8 ครั้งเป็นเงิน 9,600 บาท

3) ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 252 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 6,300 บาท

4) ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ
- เอกสารการอบรมเป็นเงิน 3,200 บาท -เครื่องชั่งน้ำหนักจำนวน 8 เครื่อง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน9,600 บาท - ที่วัดส่วนสูงจำนวน 8 ชุด ๆ ละ 1,400 บาทเป็นเงิน11,200 บาท รวมเป็นเงิน 24,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กปฐมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
  2. เด็กปฐมวัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาสมวัย
  3. ผู้ประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัยมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเกมส์การศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเกมส์การศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1) จัดกิจกรรมเล่นเกมส์พัฒนาสมองและสติปัญญา : เกมส์บิงโกผลไม้/เกมส์จับคู่/บล็อกตัวต่อพลาสติก

ค่าใช้จ่าย 1) ค่าอาหารว่างจำนวน 244 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 6,100 บาท

2) ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ
- อุปกรณ์เล่นเกมส์ฝึกสมองจำนวน 8 ชุด ละ 2,000บาทเป็นเงิน 16,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยมีความสุข สนุก ส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมหนูน้อยฟันสวย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหนูน้อยฟันสวย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1) จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพและให้ความรู้เรื่องฟันของเด็กปฐมวัย จำนวน 8 แห่ง ความถี่ 3 เดือน/ครั้ง
2) ประกวดหนูน้อยฟันสวย คัดเลือกจำนวน 5 คน ของแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ค่าใช้จ่าย 1) ค่าตอบแทนบุคลากรทันตสาธารณสุขในการให้ความรู้และฝึกสาธิตการแปลงฟันจำนวน 1 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 8 ครั้งเป็นเงิน 9,600 บาท

2)ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 244 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 6,100 บาท
3) ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ
-อุปกรณ์สาธิตการแปลงฟัน ( แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ ) จำนวน 300ชุดๆ 80บาท เป็นเงิน 24,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยมีทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 102,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีสุขนิสัยในการดุแลสุขภาพของตนเอง หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
2.ครุบูรณาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านร่างสู่นักเรียน
3.ศพด.สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4.ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมที่พัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ


>