กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน

1.นางฮอดีย๊ะตะหวัน ประธานกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 090 -7122360
2.นางยามีล๊ะ ยะโกบ รองประธานกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 083-1838783
3.นายสุทัศน์ หาบยูโซ๊ะ เหรัญญิกประธานกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 080-05477120
4. นางภัทรวรรณ ยะโกบ เลขานุการกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 089-7394147
5.นางสุริยะ สหับดิน กรรมการกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน เบอร์ติดต่อ 084- 6916324
ที่ปรึกษา
1.นางสุภา นวลดุก ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 0894088530
2.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์ติดต่ 0860810676
3.นายอาลี ยะฝา ตำแหน่ง รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เบอร์ติดต่อ 0836588116
4.นางสาวเสาวนา หลงจิ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ เบอร์ 0848595089
5.นางสาวนัสนา เต๊ะหมัน ตำแหน่ง ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข เบอร์ติดต่ 0894623581

ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้แนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 - 14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิีธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การรดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ตำบลบ้านควน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข่เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุม โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการ "รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยาตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2566" ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

แหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

80.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพิ่อขึ้น ร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11,257
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงให้ความรู้ในการจัดสภาพแวดล้อมในอาคารบ้านเรือน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงให้ความรู้ในการจัดสภาพแวดล้อมในอาคารบ้านเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงให้ความรู้ในการจัดสภาพแวดล้อมในอาคารบ้านเรือนเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดการแพร่ระบาดของยุงลายและไข้เลือดออก ทำความเข้าใจและสามารถไปประสานทำความเข้าใจขอความร่วมมือ เผยแพร่ให้นำไปปฏิบัติได้ เป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม
1.ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 คน
2.กำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล จำนวน 27 คน
3.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน จำนวน 7 คน
4.ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู นักเรียน โรงเรียนในพื้นที่ ศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่จำนวน 10 คน
5.ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จำนวน130 คน
6.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน จำนวน 2 คน
7.พนักงาน/เจ้าหน้าที่ในสังกัด อบต.บ้านควน จำนวน 20 คน รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ จำนวน 200 คน
วาระการประชุม Warroom โรคไข้เลือดออกเวลา 13.00- 16.30 น.
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
1.1 ประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เกิดโรค
ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบและพิจารณา
3.1 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เกิดโรค โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ผู้นำ ชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
3.2 บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก เช่น ผู้นำชุมชน อสม.องค์การปกครองส่วน ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 200 คนๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 5,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มกราคม 2566 ถึง 6 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย ได้นำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่นำไปสู่การปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ชุมชนร่วมดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้ชุมชนร่วมดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.รณรงค์ให้ชุมชนร่วมดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและดำเนินการพ่นสารเคมีในพื้นที่เสี่ยง เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด 4 ครั้งต่อปี
โดยขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน เน้นการเก็บขยะในบ้านภาชนะในที่โล่งแจ้ง ลดจำนวนภาชนะใส่ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย กำจัดภาชนะที่อาจมีน้ำขัง
2.แจกทรายอะเบทให้กับตัวแทนหมู่บ้าน อสม. โรงเรียน เพื่อร่วมรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในภาชนะใส่น้ำในครัวเรือน
รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าจ้างเหมาบริการพ่นสารเคมี กำจัดยุงตัวแก่ในสถานศึกษาช่วงระบาด ได้แก่ มัสยิด โรงเรียน ศพด.จำนวน 20 แห่งๆละ 300.- บาท จำนวน 4 ครั้ง/แห่ง เป็นเงิน 24,000.- บาท
2.ค่าจ้างเหมาบริการพ่นสารเคมีป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย และโรคชิกุนคุนยา(พื้นที่รัศมี 100 เมตร) กรณีมีเคส จากบ้านผู้ป่วยสงสัยได้รับรายงาน จำนวน 50 รายๆละ 300.- บาท จำนวน 2 ครั้ง/ราย เป็นเงิน 30,000.- บาท
3.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 2,500.- บาท
4.ทรายอะเบท จำนวน 6 ถังๆละ 3,000.- บาท เป็นเงิน 18,000.- บาท
5.โลชั่นทากันยุง จำนวน 250 ซองๆละ 10.- บาท เป็นเงิน 2,500.- บาท
6.สเปรย์กำจัดยุง ขนาด 300 มล.จำนวน 60 กระป๋องๆละ 85.- บาท เป็นเงิน 5,100.- บาท
รายการ ข้อ 4,5,6 ทางกลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน ขอสนับสนุนให้ แก่ รพ.สต.บ้านควน อบต.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิดได้รับการควบคุม ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
82100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 87,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสมำเสมอ


>