กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุม ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ

ม.1 ม.2 ม.3ม.7ม.8 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ขาดความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน (ร้อยละ)

 

60.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน (ร้อยละ)

 

32.50
3 ประชาชนกลุ่มป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเเทรกซ้อน (ร้อยละ)

 

35.10

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน  ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว  นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น   จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง  เช่น  การเร่งรีบกับการทำงาน  บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ  มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง  ขาดการออกกำลังกาย  เครียด  ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข   เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ  และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ ปี 2565 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดัน จำนวน 1,378 คนคิดเป็นร้อยละ 97.00 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 149 คิดเป็นร้อยละ 10.81 และประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานจำนวน 1,380 คนคิดเป็นร้อยละ 92.36 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 69คนคิดเป็นร้อยละ 7.00
นอกจากนี้กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ปี 2565 ได้รับการคัดกรองCVD Risk จากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอซึ่งจะส่งผลกระทบนั่นคือการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน ร้อยละ 90

60.00 90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60

32.50 60.00
3 เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษา การคัดกรองภาวะแทรกซ้อน และส่งต่อตามเกณฑ์มาตรฐาน

ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน  ร้อยละ 60

35.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม -กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ50 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 2มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 3. ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม - กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 80 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - กระดาษ A4 จำนวน 2 ริม ๆ ละ 145 บาท เป็นเงิน 290 บาท - ปากกา 80 แท่งๆละ 7 บาท เป็นเงิน 560 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม -กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตามหลัก 3 อ 2 ส จำนวน 80 คน งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 80 คนๆละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างจำนวน 80 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท 3.ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม - กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 80 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - กระดาษ A4 จำนวน 2 ริม ๆ ละ 145 บาท เป็นเงิน 290 บาท - ปากกา 80 แท่งๆละ 7 บาท เป็นเงิน 560

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12450.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน /คัดกรอง CVD risk

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน /คัดกรอง CVD risk
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม - กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 150 คน งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 7,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างจำนวน 150 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 7,500 บาท 3.ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม - กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 150 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน 6,750 บาท - กระดาษ A4 จำนวน 2 ริม ๆ ละ 145 บาท เป็นเงิน 290 บาท - ปากกา 150 แท่งๆละ7 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23090.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,990.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม
2.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันสูง/เบาหวาน
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
4.ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและได้รับการส่งต่อตามมาตรฐาน


>