กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน เพื่อสุขภาพดีของประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2566 เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน เพื่อสุขภาพดีของประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2566 เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

ณ สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์และปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้าประกอบด้วยหลายสาเหตุหลายปัจจัยจึงจำเป็นจะต้องดำเนินแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ซึ่งขยะมูลฝอยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้าเช่น เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงและพาหะนำโรคก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และขาดความสง่างามซึ่งในปัจจุบันประชากรครัวเรือนเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณขยะจากครัวเรือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยมีทั้งขยะย่อยสลายได้และขยะย่อยสลายยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิคส์ซึ่งขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษและก่อให้เกิดโรคตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน ส่วนขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกบางส่วนมีการจัดการไม่ถูกสุขลักษณะจากเหตุปัจจัยข้างต้นทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการขยะยากที่จะควบคุมได้ เว้นแต่ประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันคัดแยกขยะแต่ละประเภทในครัวเรือนก่อนนำไปกำจัดประกอบกับเพื่อให้ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยชุมชน/หมู่บ้าน เป็นไปตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ
(พ.ศ.2565 – 2570) และกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงตามภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยให้ครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนลดลง และป้องกันการเกิดโรค และให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและแผนปฏิบัติการ “จังหวัดสะอาด” โดยแผนได้มุ่งเน้นการคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชน/หมู่บ้าน การบริหารจัดการขยะต้นทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งหว้าจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน/หมู่บ้าน เพื่อสุขภาพดีของประชาชน ประจำปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการใช้และคัดแยกขยะในครัวเรือน/หมู่บ้าน แต่ละประเภทโดยแกนนำ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล) เป็นต้นแบบในการจัดการขยะต้นทางอย่างถูกสุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดโรคและขยายเครือข่ายในการบริหารจัดการขยะต้นทางในครัวเรือก่อนนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากขยะมูลฝอยต่อสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแกนนำหรือประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ในการคัดแยกขยะ ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ขยะเปียก ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย ตลอดจน การจัดการขยะแบบ 3 RS และทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะต่อสุขภาพ

1อาสาสมัครท้องถิ่นรักโลก (อถล) ประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ในการคัดแยกขยะ ทั้ง 4 ประเภทได้แก่ขยะเปียก
ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย ตลอดจน การจัดการขยะแบบ 3 RS และทราบถึงปัญหาและผลกระทบ ที่เกิดจากขยะต่อสุขภาพ ร้อยละ 80

80.00 0.00
2 2.เพื่อลดปริมาณขยะโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดโรค

2.การลดปริมาณขยะ โดยเฉพาะ ขยะอินทรีย์ ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี และถูกสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดโรค ร้อยละ80

800.00 0.00
3 3. เพื่อให้การนำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆมาใช้ได้อย่างถูกต้อง และบริหารจัดการขยะด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ

3.การนำวิธีการกำจัดประเภทต่างๆ มาใช้ได้ และบริหารจัดการขยะด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องถูกสุขลักษณะ ร้อยละ  80

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/11/2022

กำหนดเสร็จ 15/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการการขยะ แบบ 3Rs /สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการการขยะ แบบ 3Rs /สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณดำเนินการ  เป็นเงิน 24,932.-บาท 1. ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 ท่านๆละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600.-บาท เป็นเงิน 3,600.-บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม  จำนวน 80 ชุดๆละ 35.-บาท จำนวน 2 มื้อ   เป็นเงิน 5,600.-บาท 3. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 1 มื้อ จำนวน 80 คน ๆ ละ 70.-บาท เป็นเงิน  5,600.-บาท 4. ค่าอุปกรณ์สาธิตประกอบการอบรม เรื่องการทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนครัวเรือน - ถังพลาสติกแบบมีฝาปิดขนาดความจุ 20 ลิตร  พร้อมตัดก้น  จำนวน 80 ใบ ๆ ละ 105.-บาท เป็นเงิน 8,400.-บาท 5. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ  ขนาด 1.20X2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432.-บาท 6. เต้นท์  จำนวน 1 หลัง  เป็นเงิน  1,300.-บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,932.-บาท (-สองหมื่นสี่พันเก้าร้อยสามสิบสองบาทถ้วน-) ทุกรายการถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤศจิกายน 2565 ถึง 15 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกที่สนใจได้รับความรู้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือน แต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง
  2. ปริมาณขยะโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดโรค
  3. นำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆมาใช้ได้และบริหารจัดการขยะด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องถูกสุขลักษณะ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24932.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,932.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกที่สนใจได้รับความรู้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือน แต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง
2. ปริมาณขยะโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดโรค
3. นำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆมาใช้ได้และบริหารจัดการขยะด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องถูกสุขลักษณะ


>