กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก

น.ส.บัซรีย์ ตุดบัตร

ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านป่าบาก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง เจริญเติบโตปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ แต่ขาดในเรื่องความตระหนักและจะกลับมาใส่ใจสุขภาพเมื่อเกิดการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองหรือคน ในครอบครัว การดำรงชีวิตในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ ประกอบกับการพัฒนาทางด้านการแพทย์ที่ประชาชนไม่สามารถ พึ่งพาตนเองได้ในการดูแลรักษาสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย การบริการด้านการแพทย์ทางเลือก ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร และการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การใช้และเพิ่มการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพร เป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและเพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาสุขภาพแบบองค์รวมให้กับประชาชน รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมและเพิ่มพูนความรู้ให้กับประชาชนในการป้องกันรักษาโรคเบื้องต้นด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรพื้นบ้านและการนวดตนเองที่ประชาชนเองนั้นสามารถนำไปปฏิบัติด้วยตนเองได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกแก่ประชาชน 2. เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน
  1. ประชาชนมีความรู้การใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการป้องกัน รักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทย และสามารถนำไปปฏิบัติด้วยตนเองได้
  2. ประชาชนในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านป่าบาก ได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น
3.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดการอบรมถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน และอสม.

ชื่อกิจกรรม
จัดการอบรมถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน และอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จำนวน .............9,000.............. บาท รายละเอียด ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพด้วยการใช้สมุนไพร จำนวน 1 วัน - ค่าอาหารกลางวัน 30 คน คนละ 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน1,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน คนละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน1,500 บาท - ค่าป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1.2 ม. x 3.0 ม. จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน800 บาท
กิจกรรมที่ 2 จัดทำสมุนไพรแช่เท้า/สาธิตการแช่เท้าด้วยสมุนไพรและการนำไปใช้ - ค่าวัตถุดิบ/วัสดุสำหรับทำสมุนไพรแช่เท้า สำเร็จรูปเป็นเงิน1,700บาท - ค่าวัตถุดิบ/วัสดุสำหรับทำพิมเสนน้ำสมุนไพรเป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการนวดฟื้นฟูเท้าและการแช่เท้าด้วยสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้การใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการป้องกัน รักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทย และสามารถนำไปปฏิบัติด้วยตนเองได้


>