กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคมือ เท้า ปาก รพ.สต.บ้านป่าบาก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

เครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต. บ้านป่าบาก

1………นายจรัล ชนะรัตน์………………………………………………..…………
2………นายสมบัติ ช่อคง……………………………………………..…………….
3………นายนิกร บุญยัง……………………………………………………..………
4………นายวิเชียร จงรัตน์………………………………………………………….
5………นายอิทธิพัทธ์ ทองจันทร์………………………………………………………

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านป่าบาก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ติดต่อจากคนสู่คน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก มักพบในช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรหลายชนิด อาจมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่น การล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย รวมถึงการไม่คลุกคลีใกล้ชิดแลละใช้ของร่วมกับผู้ป่วย ร่วมกับการรักษาความสะอาดทั่วๆ ไป การจัดการสิ่งแวดล้อม ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว ห้องเรียนให้ถูกสุขลักษณะสุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้ปัญหาโรคมือ เท้า ปาก นั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งสุขภาพร่างกายและการหยุดเรียนของเด็ก แต่ปัญหาโรคมือ เท้า ปาก เป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและควบคุมได้เพื่อไม่ให้ลุกลามและรุนแรงต่อไป โดยต้องอาศัยการดูแลความสะอาดจากผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ประกอบกับเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมในการปลูกฝังสุขนิสัยการล้างมือที่ถูกวิธีทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
เครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อรพ.สต.บ้านป่าบาก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายเด็กก่อนวัยเรียนจึงได้จัดทำโครงการ “อบรมให้ความรู้และเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรค มือ เท้า ปาก” ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก โดยให้เด็กล้างมือก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนรับประทานอาหารกลางวันและหลังการขับถ่าย และเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ของโรคที่ต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะโรค มือ เท้า ปาก ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย มิให้มีการแพร่ระบาดจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไปสู่ชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในเด็ก 2. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากในเด็ก

1.เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากโรคมือ เท้า ปาก 2.ร้อยละ 100ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก 3.ลดอัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากในเด็ก

2.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ ๒๕ บาท 90 คน = 2,250 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าสบู่เหลวล้างมือ 3 แกลลอน 250 บาทเป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อ 3 แกลลอน 1,890 บาท เป็นเงิน 5,670 บาท

รวมเป็นทั้งสิ้น 9,270บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก อัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากในเด็กลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9270.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,270.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>