กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพในเด็กอายุ 0-5 ปี ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา

-

ม.4,ม.5,ม.6 ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและส่วนสูงตามเกณฑ์

 

61.15
2 ร้อยละความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

 

31.00

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนและ เด็กวัยเรียนซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญาประกอบกับการพัฒนาในด้านต่างๆ มีผลต่อการกำหนดลักษณะ พฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัว ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กวัยนี้จะต้องมีภาวะโภชนาการที่ดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตามแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไทยทุกกลุ่มวัย(ด้านสุขภาพ) ของกระทรวงสาธารณสุข ปี2565 เด็กไทยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ได้แก่ 1.ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี ร้อยละ 64 2.ร้อยละเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85จากผลการดำเนินงานของในปีงบประมาณ 2565 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี ผลงานที่ได้ ร้อยละ 51.11 และร้อยละเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85ผลงานที่ได้ ร้อยละ 92.23 ซึ่งทั้ง 2 ตัวชี้วัดนี้ได้มี 1 ตัวชี้วัดที่มีผลงานต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าว เนื่องจากผู้ปกครองเด็กขาดความรู้ ด้านโภชนาการ มีพฤติกรรมการ บริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้ง ผู้ปกครองมีลูกมาก ไม่มีเวลาดูแลลูก เพราะฉะนั้นการปรับปรุง ภาวะโภชนาการเด็กจำเป็นที่ผู้ปกครอง จะต้องมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก และด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ไข้สมองอักเสบ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และโปลิโอ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาทั้ง 4 กลุ่มอายุ ในปีงบประมาณ 2565พบว่า ผลงานความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ร้อยละ 31.00 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงตั้งไว้ คือร้อยละ ๙๐ ซึ่งจะต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็ก เพื่อความปลอดภัยจากโรคที่กำลังระบาดในพื้นที่ โดยเฉพาะโรคคอตีบ และโรคหัด
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพ ในเด็กอายุ ๐-๕ ปี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีมีรูปร่างสูงดีสมส่วนและสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิม

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีรูปร่างสูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลี่ย เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 5

51.11 56.11
2 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 90 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10

31.00 41.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5ปี ได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการให้สมตามวัย

เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

30.00 26.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่ได้รับว 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง โภชนาการและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง โภชนาการและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.กิจกรรมอบรมให้ความ รู้ เรื่อง โภชนาการและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ ปี จำนวน 150 คน มีการดำเนินกิจกรรมโครงการ3วันๆละ50 คน (เเบ่งกลุ่มออกเป็น 3กลุ่มๆละ 1 วันๆละ 1หมู่บ้านๆละ 50 คน ) งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน150 คนx 60 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 9,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างจำนวน150 คน25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 7,500 บาท 3.ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม กระเป๋าใส่เอกสารจำนวน 150 ใบx 45 บาท เป็นเงิน 6,750บาท
4.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 2 x 1 เมตร x250บาท เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 วันๆละ 3 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ผลลัตธ์ (Outcome) : ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีรูปร่างสูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลี่ย เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมโครงการ 1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน 2. กิจกรรมสาธิตอาหาร 3. กิจกรรมสาธิตการดูแลเด็กหลังจากฉีดวัคซีน งบประมาณโครงการ 1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน30คน x 1 มื้อx 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30คน x 2 มื้อx25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 3.กระเป๋าใส่เอกสารจำนวน30ใบ x 45 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
4.ค่าตอบเเทนวิทยากรจำนวน 1 วัน x 3 ชั่วโมง x 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output): กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ผลลัทธ์ (Oีutcome) : เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 90 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6450.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมโครงการ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย ช่วงอายุ แรกเกิด - 5 ปี งบประมาณโครงการ ชุดส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการตามช่วงวัยแต่ละช่วงวัย จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 11,840 บาท -บล็อกไม้เลขาคณิต
-ขดลวดเสริมพัฒนาการ -จิ๊กซอเลขาคณิต -รถไฟลากแบบไม้ -ระนาดไม้ -ม้าโยกไม้หรือพลาสติก -ม้ายาง -ชุดตอกทุบ -หนังสือผ้า -ลูกบอลนุ่มๆ บีบมีเสียง -ตุ๊กตาผ้ารูปสัตว์ต่างๆ -กลุ่องหยอดรูปทรงง่ายๆ -ดินน้ำมัน -กล่องดนตรี เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลลัพธ์ เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ การกระตุ้นพัฒนาการให้สมตามวัย และเด็กมีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,440.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพฟันและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก
2.จำนวนเด็กที่มีปัญหาขาดสารอาหารในพื้นที่มีภาวะขาดสารอาหารลดลงร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลี่ย เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 5
3.จำนวนเด็กที่ขาดการรับวัคซีนตามเกณฑ์ ได้รับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 90 หรือเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 15


>