กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม (เมา-หมวกนิรภัย-เข็มขัดนิรภัย-มือถือ-วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น-เบาะนิรภัยเด็ก) ด้วยการเพิ่มจำนวนด่าน และให้ความรู้
1.1 เพิ่มการตรวจจับหรือจุดตั้งด่านตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่ใช้เบาะนิรภัยสาหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสาหรับเด็ก และไม่มีใบอนุญาตขับขี่)
1.2 กำกับดูแลผู้ขับขี่รถสาธารณะให้มีความพร้อมทางสภาพร่างกายก่อนและระหว่างการขับขี่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานด้านความฟปลอดภัยของยานพาหนะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จักรยานยนต์ปลอดภัย ด้วยการติดตั้ง ABS ตรวจสอบมาตรฐานหมวกนิรภัย และให้ความรู้การใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
1.1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรฐานรถจักรยานยนต์ รวมถึงการเลือกซื้อและการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ถนนปลอดภัย
1.1 เพิ่มมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ตรวจประเมินถนน ดำเนินมาตรการเชิงแก้ไข (Road side hazard) โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในจุดที่เคยเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพิ่มการเดินทางที่ยั่งยืน
2.1 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงาน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
1.1 เพิ่มความครอบคลุมของการทำประกันภัยภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2 ลดเวลาตอบสนองหลังเกิดเหตุ (response time) ด้วยเบอร์ฉุกเฉิน
1.3 เพิ่มความครอบคลุมของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลในทุกตำบล
1.4 กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในสถานการณ์ฉุกเฉินทางถนนสำหรับผู้ขับรถสาธารณะ
2. เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา
2.1 มีการจัดประชุม ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง
2.2 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน