กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูแบสาลอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูแบสาลอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูแบสาลอตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจโภชนาการสมส่วนตามช่วงวัย (คน)

 

17.00
2 ผู้ปกครองเด็กสามารถสังเกต ติดตาม การเปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการเเละการเจริญเติบโตของเด็กสมส่วนตามวัย (คน)

 

17.00

เด็กก่อนวัยเรียนถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญเเละเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศการที่ประชากรกลุ่มนี้จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้นั้นจะต้องมีสุขภาพอนามัยที่เเข็งเเรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายเเละจิตใจเหมาะสมกับวัย เด็กเมื่อพ้นอายุ 1 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 5 ปี จัดอยู่ในวัยก่อนวัยเรียน ซึ่งเเบ่งเป็น 1-3 ปี เเละ 4-5 ปี เด็กวัยนี้ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างช้าๆ แต่การเจริญเติบโตทางสังคม ลักษณะนิสัย เเละทางอารมณ์ เกิดขึ้นอย่างมากในวัยนี้ พฤติกรรมการบริโภคจะพัฒนาในช่วงวัยเด็กเเละจะติดตัวไปจนเป็นวัยผู้ใหญ่ การสร้างนิสัยการกินที่ดีตั้งเเต่เด็กจะส่งผลต่อไปในอนาคต ซึ่งต้องได้รับการดูเเลเอาใจใส่โดยเฉพาะทางด้านอาหารเเละโภชนาการ เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สมอง ระบบประสาทเเละสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาการทางอารมณ์ เเละบุคลิกภาพ อีกทั้งเด็กวัยนี้จะมีความสนใจเรื่องการรับประทานอาหารน้อยลง เนื่องจากมีความสนใจสิ่งเเวดล้อมรอบตัวมากขึ้น เด็กจึงมีโอกาสขาดสารอาหารได้ อิทธิพลที่มีต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ขนาดครอบครัว การศึกษา การทำงานนอกบ้านประเพณี ความเชื่อ เเละนิสัยใส่ในการบริโภคของผู้ปกครอง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเเละคุณภาพอาหารที่เด็กบริโภคเเละภาวะโภชนาการของเด็ก ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูเเบสาลอ ได้เล็กเห็นถึงความสำคัญของเด็ก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูแบสาลอ เพื่อลดปัญหาการเกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเกิดปัญหาเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม (คน)

จำนวนเด็กที่มีการเจริญโตทางด้านรูปร่างสมส่วน (คน)

4.00 2.00
2 เพื่อลดการเกิดปัญหาเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย (คน)

จำนวนเด็กที่มีความยาวเเละส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของอายุ 0-5 ปี (คน)

1.00 1.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการ

ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสมส่วนตามช่วงวัย

17.00 17.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กสามารถสังเกต ติดตาม การเปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการเเละการเจริญเติบโตของเด็กสมส่วนตามวัย

ผู้ปกครองเด็กสามารถสังเกต ติดตาม การเปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการเเละการเจริญเติบโตของเด็กสมส่วนตามวัย

17.00 17.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 17
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 17

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดโครงการ กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูเเบสาลอ จำนวน 34คน (ผู้ปกครองเด็ก จำนวน17คน เเละ เด็กจำนวน17คน) งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม. x 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้ปกครองเด็ก จำนวน 17 คน x 2 มื้อx 25 บาท เป็นเงิน 850 บาท 3.อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มเด็ก จำนวน 17 คน x 1 มื้อx 25 บาท เป็นเงิน 425 บาท 4.อาหารกลางวันผู้ปกครองเด็ก จำนวน 17 คน x 1มื้อ x50 บาท เป็นเงิน 850 บาท 5.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร x 250บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 34 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : ผู้ปกครองได้รับความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการให้เป็นไปตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4675.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารในการส่งเสริมโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารในการส่งเสริมโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมโครงการ กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหาร ให้แก่ ผู้ปกครองเด็กเเละเด็ก งบประมาณ 1.ขนมปัง จำนวน 2 แถว x 36 บาท เป็นเงิน 72 บาท 2.เกล็ดขนมปังจำนวน 1 กก. x 55 บาท เป็นเงิน 55 บาท 3.น้ำมัน จำนวน 1 ขวด x 65 บาทเป็เงิน 65 บาท 4.กล้วย จำนวน 2กก. x 25 บาท เป็นเงิน 50 บาท 5.ช็อคโกแลต จำนวน 2 หลอด x 28 บาท เป็นเงิน 56 บาท 6.ไข่ จำนวน 15 ฟอง x 5บาท เป็นเงิน 75 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 32 คน ผลลัพธ์ (Outcome) : ผู้ปกครองสามารถนำเมนูตัวอย่างไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
373.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,048.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กที่มีการเจริญโตทางด้านรูปร่างสมส่วน
2. เด็กที่มีความยาวเเละส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของอายุ 0-5 ปี
3. ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสมส่วนตามช่วงวัย
4. ผู้ปกครองเด็กสามารถสังเกต ติดตาม การเปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการเเละการเจริญเติบโตของเด็กสมส่วนตามวัย


>