กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา

-

ม.4 ม.5 ม.6 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 แกนนำสตรี อายุ 30-70 ปี ขาดความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม (คน)

 

60.00
2 หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30-60 ปี ขาดความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม (คน)

 

120.00

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลกซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 11 ล้านคนและตายจากโรคมะเร็ง 7 ล้านคน โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรก การป้องที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนัก การกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตนเองในระยะแรก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราตายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ ปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับ๑และอันดับ 2 ของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลปัจจุบัน มีวิธีการตรวจแบบเจาะลึกระดับ DNA ด้วยเทคนิค ‘HPV DNA Testing’ ที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีอย่างแม่นยำตั้งแต่ระยะแรก ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกและการคัดกรองด้วยการทำ HPV DNA Testing ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้
จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2562-2565 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 4.68ไม่พบผิดปกติซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดและสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปีได้รับคัดกรองมะเร็งเต้านมจำนวน 731 คน คิดเป็นร้อยละ 83.64 พบผิดปกติจำนวน 2 ราย ได้ส่งต่อไปรพ.นราธิวาสราชนครินทร์เพื่อรับการตรวจแมมโมแกรมต่อไป
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรค โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ได้ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปี 2566 ขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและตรวจคัดกรองด้วยการทำ HPV DNA Testing เพื่อค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติของcell มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ มีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำ HPV DNA Testing

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการทำ HPV DNA Testing ร้อยละ 20

60.00 20.00
2 เพื่อให้แกนนำสตรีและสตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการคัดกรองตรวจเต้านมด้วยตนเองและแนะนำได้ถูกต้อง

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี มีความรู้ความสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

120.00 80.00
3 เพื่อค้นหาโรคมะร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มและได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์

สตรีกลุ่มเป้าหมายที่พบเชื้อผิดปกติในระยะแรกเริ่มได้รับการส่งต่อและรักษาตามมาตรฐาน ร้อยละ 100

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสตรี 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสตรีในการคัดกรองค้นหาความผิดปกติของมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสตรีในการคัดกรองค้นหาความผิดปกติของมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ให้ความรู้แก่แกนนำสตรีในการคัดกรองค้นหาความผิดปกติของมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและฝึกปฏิบัติทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยใช้โมเดลเต้านมจำลอง งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวันสำหรับแกนนำจำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ60บาท เป็นเงิน3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำสตรี จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ25 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม - กระเป๋าใส่เอกสารจำนวน 60 ใบๆละ 45 บาท เป็นเงิน 2,700บาท
- ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินจำนวน 60 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน 420บาท - สมุดปกอ่อน จำนวน 60 เล่มๆละ10 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (output) : แกนนำสตรีเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการค้นหาความผิดปกติของโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ80 ผลลัพธ์ (outcome): แกนนำสตรี มีความรู้ ทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12120.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมเชิงปฏิบัติการแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในการตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมเชิงปฏิบัติการแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในการตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ให้ความรู้ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ30-70 ปี งบประมาณ -ค่าอาหารกลางวันสำหรับสตรีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 120 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับสตรีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 2วันๆละ3 ชั่วโมงๆละ600บาทเป็นเงิน 3,600 บาท ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม - กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน120 ใบๆละ45 บาทเป็นเงิน5,400 บาท
- ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน จำนวน 120 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน 840บาท - กระดาษดับเบิ้ลเอ A4 80 แกรม จำนวน 2 รีมๆละ145 บาท เป็นเงิน 290บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (output) : สตรีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการค้นหาความผิดปกติของมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ (outcome): สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23330.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,450.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสตรีมีความรู้และทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำHPV DNA Testing ได้
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังและติดตามมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอทุก 5 ปี
3.ครอบครัว ชุมชน และสังคมมีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น


>