กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ประจำปี 2566 โรงพยาบาลป่าบอน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ประจำปี 2566 โรงพยาบาลป่าบอน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

โรงพยาบาลป่าบอน

ตำบลทุ่งนารี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข นับวันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศโรคทางจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรม จำเป็นต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ต้องดูแลรักษาตลอดชีวิต การเจ็บป่วยซ้ำถี่มากขึ้นยิ่งทำให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน และพฤติกรรมฆ่าตัวตาย เป็นต้น
จากรายงานศูนย์ข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วยจิตเวชมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อาทิ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจาก 30,247 คน ในปี 2562 เป็น 33,891 คน ในปี 2564 ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มเดียวกันกับสถานการณ์ทั่วโลก โดยส่วนหนึ่งเกิดจากวิกฤตการระบาดของไวรัส
โควิด-19 และในปี 2565 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการทำงานเชิงรุกในการสร้างเครือข่ายเพื่อการคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงและค้นหาผู้ป่วยทางจิตเวช เพื่อส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ร่วมกับเครือข่ายอื่น ๆ ทั้งในโรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานประกอบกิจการ สถานสงเคราะห์ สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก เรือนจำ ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงบริการ นอกเหนือจากบริการทางการแพทย์และการกินยาเพื่อรักษาอาการอย่างต่อเนื่องแล้ว ครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะช่วยสังเกตอาการและช่วยเหลือเบื้องต้นได้ การมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช มีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันการขาดยาที่อาจนำไปสู่ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินที่อาจก่อความรุนแรง และเพื่อป้องกันเหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยขาดยา หน่วยงานที่ดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคจิตเวชและแนวทางการดูแลผู้ป่วย โดยชุมชนมีส่วนร่วม นอกจากนั้นยังต้องสร้างองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ นอกจากความรู้ในการช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต 2551 อีกด้วย
จากสถิติการให้บริการของกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลป่าบอน ในปี 2563 - 2565พบว่ามีผู้ป่วยที่มารักษาด้วยความผิดปกติทางจิตใจและพฤติกรรม เนื่องจากใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
จำนวน108 ราย, 130 ราย, 189 ราย ตามลำดับ มีจิตเวชฉุกเฉินในปี 2564 จำนวน 17 ราย เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) จำนวน 14 ราย และมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินในพื้นที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี สอดคล้องกับข้อมูลปัญหาสุขภาพพื้นที่ของอำเภอป่าบอน พบปัญหาด้านจิตเวชฉุกเฉินและยาเสพติดอยู่ในลำดับ 6 ใน 10 ปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข จึงจำเป็นต้องจัดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดความรุนแรงขึ้น ดังนั้นเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน ผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วย ผู้นำชุมชน อสม. เครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลป่าบอน จึงจัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ประจำปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวช การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้นำชุมชน อสม. ที่มีผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวช การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช และการดูแลผู้ป่วยในชุมชน

 

0.00
3 3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาคีเครือข่าย ที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเวช การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช และการดูแลผู้ป่วยในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จำนวน 12,900บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าวัสดุ-อุปกรณ์เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร
วิทยากรหลัก จำนวน 1 คน x 6 ช.ม. x 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท วิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คน x 3 ช.ม. x 300 บาท เป็นเงิน1,800 บาท หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 27 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดลดลง
  2. ผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดได้รับการส่งต่อรักษาพยาบาล       3. ครอบครัว ชุมชน ปลอดภัยจากพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินและสารเสพติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดลดลง
2. ผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดได้รับการส่งต่อรักษาพยาบาล
3. ครอบครัว ชุมชน ปลอดภัยจากพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินและสารเสพติด


>