กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูบอเกาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สตรีหญิงวัยเจริญพันธ์ยุคใหม่ รู้ทัน ใส่ใจ โรคมะเร็ง ตำบลกายูบอเกาะ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูบอเกาะ

โรงพยาบาลรามัน

พื้นที่เขต อบต.กายูบอเกาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 2 และ 3 ตามลำดับ ของโรคมะเร็งทั้งหมด สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมากพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้าน สังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัด กรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีและอาจลดการตรวจลงเหลือเพียง ตรวจทุก ๒ – ๓ ปีเมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง ๓ ครั้ง/๓ ปีติดต่อกัน ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลงจากผลการดำเนินงาน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30- 60 ปีในเขตพื้นที่อำเภอรามัน ปี 2563 - 2565 พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายนเท่ากับ 1,352,1,343 และ 1,293 ตามลำดับ ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 7.62, 22.34และ 23.20 ตามลำดับ กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ปี 2565 กลุ่มเป้าหมาย 30-70 ปี มีจำนวน 1,563 ราย ได้รับการคัดกรอง 1,423 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.04 ( ข้อมูล HDC วันที่ 30 กันยายน 2565 ) และตรวจไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองมีความซับซ้อน ทำให้ไม่เข้าใจ หรืออาจเกิดจาก กลุ่มเป้าหมาย และ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ส่วนการคัดกรองมะเร็งลำไส้ปี 2565 กลุ่มเป้าหมายคิดเป็นสุ่มตรวจ 20% จำนวน 128 ราย ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ 113 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.84 ไม่พบผิดปกติดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลรามัน จึงได้จัดทำโครงการสตรีหญิงวัยเจริญพันธ์ยุคใหม่ รู้ทัน ใส่ใจ โรคมะเร็ง ตำบลกายูบอเกาะ ปี 2566 ขึ้น เพื่อความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจมะเร็งปากมดลูก และมีความเชี่ยวชาญในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และยังเป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

1.ร้อยละ 85 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้หลังการอบรมเรื่อง มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้

1.00 1.00
2 2.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20
1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/01/2023

กำหนดเสร็จ 27/02/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย 1.1.1  จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน          1.1.2 สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย            1.1.3 ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน          1.1.4 ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายโดย อสม.ในพื้นที่ตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อร่วมเข้าโครงการ
กิจกรรมอบรมให้ความรุู้
        1.2.1 พัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ เรื่องสถานการณ์โรคมะเร็งในปัจจุบัน การเฝ้าระวัง และการป้องกันโรค มารู้จักโรคมะเร็งต่าง ๆ มะเร็งปากมดลูก/เต้านม และมะเร็งลำไส้
        1.3.1 บรรยายการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และฝึกปฏิบัติการตรวจมะเร็งเต้านมและบันทึกผลด้วย Application BSE ด้วยตนเอง งบประมาณ ค่าวิทยากร 600 บ.x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บ. ค่าอาหารกลางวัน 70 บ.x 1 มื้อ x 120คน  เป็นเงิน  8,400 บ. ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 30 บ.x 2 มื้อ x 120 คน เป็นเงิน  7,200 บ. - ค่าป้ายไวนิลขนาด 1*3 เมตร x 1 ชิ้น เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มกราคม 2566 ถึง 19 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประเมิน ความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังอบรม 2.ติดตามตัวชี้วัดการปฏิบัติงานทุกเดือน ในโปรแกรม HDC

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เจ้าหน้าที่ และ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมีความเชี่ยวชาญใน การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและประชาชนในกลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันและได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ เมื่อพบผิดปกติได้รับการส่งต่อทันเวลาอย่างเหมาะสม


>