กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หนูน้อยสุขภาพดี ชีวีสดใส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ

องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบลูกาและศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดดารุลอามาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

 

12.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวผอม

 

37.00

เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี เป็น "โอกาสทอง" ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ จึงจัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ชีวีสดใส เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

 

0.00
2 เพื่อความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการให้ผู้ปกครอง ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

 

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 78
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/12/2022

กำหนดเสร็จ 01/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหาร จำนวน 78 คนๆละ1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 5,460 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 78 คน 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 5,460 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับสาธิตประกอบอาหาร เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 720 บาท
  • ค่ากระเป๋า วัสดุ เครื่องเขียน จำนวน 78 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท
  • ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 ธันวาคม 2565 ถึง 8 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ากิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20140.00

กิจกรรมที่ 2 ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพที่ดี

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเมล็ดผัก จำนวน 10 ถุงๆละ 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
  • ค่าดินมูลไส้เดือน จำนวน 10 ถุงๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ค่าดินเกษตร จำนวน 20 ถุงๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 500 บาท
  • ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2565 ถึง 15 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำทะเบียน/บัญชีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ประจำเดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2565 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เฝ้าระวัง ติดตาม ดูแลและแก้ปัญหาโภชนาการในเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 แก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
แก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไข่ จำนวน 13 คนๆละ 90 ฟองๆละ 4 บาท เป็นเงิน 4,680 บาท
  • ค่านมกล่อง จำนวน 13 คนๆละ 90 กล่องๆละ 12 บาท เป็นเงิน 14,040 บาท
  • ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2565 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญาสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,210.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
- เด็กมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย
- ผู้ปกครอง ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ


>