กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ

-

องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชน พบว่าปัญหาสุขภาพ การมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีปัจจัยความเสี่ยงที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญคือ 1.บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง 2.ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุนจากผู้นำชุมชน 3.ปัญหาในเรื่องอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย ซึ่งต้องมีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก่ไขปัญหาเหล่านั้น รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นรูปแบบ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพในแต่ละหมู่บ้านองค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรามการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประธานอาหารที่มีประโยชน์และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเป็นตน
การออกกำลังกายเป็นพฤติกรรมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอจะให้ประโยชน์ทั้งต่อด้านร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียน ผลดีต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มความเข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอัตราการเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ (Osteorosis)ได้ ช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดการสะสมระดับของไขมันในร่างกายในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจนโตเป็นผู้ใหญ่ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการเกิดสารก่อมะเร็งและเพิ่มการไหลเวียนของเม็ดโลหิตขาวทำให้ลดปัญหาสุขภาพได้ ด้านจิตใจ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอิ่มเอิบ อารมณ์ดี ลดความตึงเครียดและนอนหลับได้ดีและผลดีด้านยสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพและมิตรไมตรีต่อกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน การที่ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดีนั้นประชาชนจะต้องพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้มากขึ้น ได้ตระหนักถึงความสำคัญองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสิ้นใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน

ร้อยละ 60 ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรค ต่างๆ

50.00 60.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรค

ร้อยละ 60 ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น

50.00 60.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

ร้อยละ  60 ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมตามโครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ1.1บรรยายให้ความรู้ “การควบคุม พัฒนาพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี” 1.2 บรรยายให้ความรู้ “อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสม” 1.3อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนวดแผนไทย

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมตามโครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ1.1บรรยายให้ความรู้ “การควบคุม พัฒนาพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี” 1.2 บรรยายให้ความรู้ “อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสม” 1.3อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนวดแผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม มื้อละ 70 บาท x 1 มื้อ  x  50 คน   =  3,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม มื้อละ 35 บาท x 2 มื้อ  x   50 คน  =3,500 บาท 3.ค่าวิทยากร 2 คน ๆละ 3 ชมๆ ละ x 600 บาท    = 3,600 บาท 4.ค่าเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม 78 บาท X 50 คน  = 3,900 บาท 5.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน ขนาด  1.2 * 2..40 เมตรๆละ 250  บาท  =    720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2566 ถึง 6 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้เมื่อเกิดการเจ็บป่วย และการจัดการความเครียด การรับประทานอาหาร และการป้องกันโรค ต่างๆ 2.ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น 3.ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15220.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,220.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>