กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพต่อระดับสารเคีมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรในพื้นที่ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ประจำปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพต่อระดับสารเคีมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรในพื้นที่ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคชุมชนบ้านทุ่งนารี

1.นายเอก รุ่งกลิ่น
2.นายนิพนธ์ คำแก้ว
3.นางยุพิน มณีสุวรรณ
4.นางผ่อง โยมเมือง
5.นางสาวรัชณี ศิริมุสิกะ
6.นางสมพร ขวัญคง
7.นายอำนวย คงมี

ม.1ม.3ม.5 ตำบลทุ่งนารีอ.ป่าบอนจพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้นจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้ได้จำนวนมากและรวดเร็วตามรอบการปลูกพืชผลทางการเกษตรแต่ละประเภท จึงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย อำเภอป่าบอนเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเกษตรกรบางส่วนยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งไม่ได้มีความตระหนักถึงปัญหาที่สำคัญจากผลกระทบหรืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อันเป็นภัยเงียบทางสุขภาพที่เกิดจากกลุ่มเกษตรกรขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธีอย่างปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพที่มีความเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพต่อระดับสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้นเพื่อให้มีการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกร ในเขตรับผิดชอบ ให้ได้รับการตรวจสุขภาพและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย
2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีระดับเอมไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับปลอดภัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดสารเคมีตกค้างในกระเลือดของประชาชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี ๒๕๖6 แบ่งการคัดกรองเป็น 3 หมู่บ้าน รวม 100 คน จำนวน 2 ครั้ง (ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ)

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดสารเคมีตกค้างในกระเลือดของประชาชน ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ปี ๒๕๖6 แบ่งการคัดกรองเป็น 3 หมู่บ้าน รวม 100 คน จำนวน 2 ครั้ง (ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

• ชุดทดสอบเอมไซม์โคลีนเอสเตอเรส 3 กล่อง (กล่องละ 100แผ่น) กล่องละ 950 บาท = 2,850 บาท • แผ่นสไลด์ 2 กล่อง กล่องละ 80 บาท = 160 บาท • เข็มเจาะเลือด 3 กล่อง กล่องละ 150 บาท = 450 บาท • Hematocrit Tube 3 กล่อง กล่องละ 180 บาท = 540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2566 ถึง 3 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนเข้าร่วมโครงการ 100 คน ได้รับการเจาะเลือดเพื่อหาระดับสารพิษตกค้างในเลือด  และทราบผลการเจาะเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค ในกลุ่มเป้าหมาย 100 คน จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค ในกลุ่มเป้าหมาย 100 คน จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ ๆละ 25 บาท จำนวน 100 คน = 2,500 บาท • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท จำนวน 100 คน = 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการเลือกซื้ออาหาร การหลีกเลี่ยงสัมผัสสารพิษ  สามารถนำความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมชุมชนเข้มแข็งด้วยมือเรา โดยส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมชุมชนเข้มแข็งด้วยมือเรา โดยส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อพันธ์ผักสวนครัวให้กับสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 100 คน คนละ 7 ต้น  ต้นละ 5 บาท  = 3,500 บาท  เพื่อปลูกและไม่ใช้สารพิษ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2566 ถึง 20 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้ปลูกผักสวนครัว ลดการใช้สารพฺิษ พวกยาฆ่าแมลง  ทำให้การบริโภคมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้น


>