กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร รหัส กปท. L2533

อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน (เข้าสุนัต) ประจำปีงบประมาณ 2566
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสวัสดิการสังคม อบต.ร่มไทร
3.
หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(การเข้าสุนัต) คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกและเหตุผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อลฯได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง (ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่งคือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การโกนขนในร่มผ้า การตัดเล็บ การถอนขนรักแร้ และการขลิบหนวด (บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม) การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเพื่อความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญจากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียกหากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมทั้งเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบฯจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล” (ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต”(ภาษามลายู) มักทำหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง” ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(active bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคและการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดและผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ (sterile) อย่างถูกวิธี ดังนั้นกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทรได้เล็งเห็นความสำคัญของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือการเข้าสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแบบปราศจากเชื้อ จึงจัดโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน (เข้าสุนัต) ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพมากขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่อย่างถูกหลักทางการแพทย์ เพื่อลดการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก (active bleeding)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้รับบริการ ไม่เกิดการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก (active bleeding) ภายหลังการรับบริการ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
  • 2. เพื่ออบรมให้ความรู้ และสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลและป้องกันโรคติดต่อ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคติดต่อ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรค
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรค
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    1. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
    2. ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจ และรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ
    3. จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชน

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. กิจกรรมบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เด็กและเยาวชน
    รายละเอียด
    1. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและการป้องกันโรคติดต่อแก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค งบประมาณ
      1) ค่าป้ายไวนิลขนาด 100 x 300 เซนติเมตร เป็นเงิน 750 บาท

    2) ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท

    3) ค่าอาหารว่างผู้ปกครอง และเด็กเยาวชน 120 คน x 25 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

    4) ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครอง และเด็กเยาวชน120 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 7,200 บาท

    1. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
      งบประมาณ 1) ค่าอุปกรณ์ยา เวชภัณฑ์ และค่าหัตถการสำหรับทำสุนัต คนละ 1,200 บาท x 60 คน เป็นเงิน 72,000 บาท
      2) ค่าวัสดุอุปกรณ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เป็นเงิน 5,660 บาท ได้แก่

    - ผ้ารองป้องกันการติดเชื้อ 100 บาท x 60 คน เป็นเงิน 6,000 บาท -ถุงขยะติดเชื้อ ขนาด 30 X 40 นิ้ว จำนวน 2 แพ็ค x 80 บาท เป็นเงิน 160 บาท

    งบประมาณ 90,910.00 บาท
  • 3. การประเมินและติดตามอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
    รายละเอียด

    ประเมินและติดตามอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
    รายละเอียด

    ทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

การบริการด้านการส่งเสริมป้องกันโรค (บริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน)

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 24 เมษายน 2566 ถึง 3 พฤษภาคม 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลร่มไทร อำเอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 90,910.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เด็กและเยาวชนได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย)
  2. สามารถลดการเกิดภาวะเลือดออกมากภายหลังทำหัตถการและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การอักเสบรุนแรงและการติดเชื้อ
  3. ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคติดต่อ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร รหัส กปท. L2533

อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ร่มไทร รหัส กปท. L2533

อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 90,910.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................