กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดูแลใส่ใจสตรี มีสุขภาพดี ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลใส่ใจสตรี มีสุขภาพดี ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

ชุมชนในตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศ ไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐ - ๕๐ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่ เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ในเขตพื้นที่ รพ. สต.ตะปอเยาะ พบว่ากลุ่มเป้าหมาย 1437 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2564 จำนวน 315 ราย ร้อยละ 21.92 กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยาก ต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,766 ราย ได้รับการคัดกรอง 1719 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.34 ( ข้อมูล HDC วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ) ที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้ง กลุ่มเป้าหมาย และ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ดังนั้น รพ.สต.ตะปอเยาะ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2566เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแบบยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. สตรีอายุ 30 -60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีHPV DNA
2. สตรีอายุ30 – 70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง
3. สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเองและผ่านเกณฑ์ ประเมินทักษะจากเจ้าหน้าที่
4. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก
5. เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมให้ความรู้โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในหมู่บ้าน 5 หมู่ ๆ ละ 50 คน โดยการใช้วงล้อฝึกตรวจมะเร็งเต้านม และโมเดลเต้านม

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมให้ความรู้โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในหมู่บ้าน 5 หมู่ ๆ ละ 50 คน โดยการใช้วงล้อฝึกตรวจมะเร็งเต้านม และโมเดลเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน  เป็นเงิน 700 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 250 คน X 140 บาทเป็นเงิน  35,000 บาท -วงล้อฝึกตรวจมะเร็งเต้านม จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 3,500  บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเป็นเงิน 39,200  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สตรีอายุ 30 -60 ปี  ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี  HPV DNA
  2. สตรีอายุ  30 – 70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง
  3. สตรีอายุ   30   ปีขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเองและผ่านเกณฑ์ ประเมินทักษะจากเจ้าหน้าที่
  4. ค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก
  5. ลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็น ประจำต่อเนื่อง
๒.พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาด ได้
๓.ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น


>