กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ตำบลตะปอเยาะ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันวิถีชีวิตของประชาชนไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมากโดยเฉพาะเรื่องอาหารและวิถีการใช้ชีวิตมีรูปแบบการบริโภคอาหารต่างไปจากเดิม ส่งผลทําให้เกิดภาวะทุพโภชนาการขึ้นในกลุ่มต่างๆ เช่น โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง ทําให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคข้อ และโรคอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชาชนไทย ในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าว จึงจําเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงสูง คัดกรอง เบาหวาน ความดัน โภชนาการ ควบคู่กับการให้ความรู้การออกกําลังกาย ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้จะต้องเน้นการดูแลด้านสุขภาพให้ได้รับความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเลือกรับประทานอาหารให้ได้รับตามความต้องการของร่างกาย จากการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ ปี2565ในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย พบว่ามีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 80 ราย เสี่ยงต่อโรค ความดันโลหิตสูง 122 ราย ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 372 ราย ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1005 ราย มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและผู้ป่วยที่รับการรักษา จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลตะปอเยาะ จํานวนทั้งหมด 150 ราย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลตะปอเยาะได้เห็นความสําคัญในเรื่องนี้จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ตำบลตะปอเยาะ ปี 2566 ขึ้นเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อนในชุมชนลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรคเรื้อรัง
2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่วยรายใหม่และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องติดตาม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งเป็น 3 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งเป็น 3 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งเป็น 3 รุ่น -จัดพื้นที่เพี่อแสดงสื่อโมเดลอาหารและโมเดลธงโภชนาการพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มป่วยมีความรู้เรื่องอาหารมากขึ้น - จัดทำสมุดสุขภาพกลุ่มกลุ่มเสี่ยงสูง - สรุปและติดตามประเมินผล งบประมาณ 1. ป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.2 * 2.35 เมตร จำนวน 1 ผืน
เป็นเงิน 700 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ
กลุ่มเป้าหมายในการจัดอบรมฯ จำนวน 150 คน x 70 บาท
เป็นเงิน 10,500 บาท 3. ค่าอาหารว่างสำหรับ กลุ่มเป้าหมายในการจัดอบรมฯ จำนวน 150 คน x 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท 4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน
6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท x 3 รุ่น
(รุ่นละ50 คน) เป็นเงิน 10,800 บาท 5.ค่าโมเดลอาหารโรคไต เป็นเงิน 6,500.- บาท
5.ค่าโมเดลธงโภชนาการ เป็นเงิน 6,990.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรคเรื้อรัง -กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่วยรายใหม่และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องติดตาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45990.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,990.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรคเรื้อรัง
2.กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับสมุดสุขภาพเพื่อติดตาม การดูแลสุขภาพ
3.พื้นที่ในรพ.สต.เป็นพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพ มีมุมแสดงโมเดลอาหาร และธงโภชนาการ


>