กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้บริโภคอุ่นใจ อาหารปลอดภัยและพัฒนาเครือข่ายแบบยั่งยืนปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1. นางชนิศาไชยประดิษฐ
2. นายทรงฤทธิ์ จันทร์แดง

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส - พื้นที่ ม.2,4,5,8 ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ในปีงบประมาณ 2565 จากการสำรวจร้านอาหาร/แผงลอย และร้านชำ ในเขตตำบลปาเสมัส หมู่ 2 หมู่ 4 หมู่ 5 และหมู่ 8 พบว่ามีร้านอาหาร/แผงลอย จำนวนทั้งหมด 24 ร้านร้านขายของชำ จำนวน 29 ร้าน พบว่ายังมีร้านขายของชำ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เช่น จำหน่ายอาหารและขนมที่หมดอายุ ไม่มีอย. ไม่มีวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุจำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 55.17 มีการจำหน่ายยาที่ห้ามขายในร้านชำจำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 41.37 ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยงข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ มีสารเจือปนที่อันตรายและมีการจำหน่ายยาอันตรายจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้ามีจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายในร้านขายของชำ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัสจึงได้จัดทำโครงการผู้บริโภคอุ่นใจ อาหารปลอดภัยและพัฒนาเครือข่ายอย่างยั่งยืนขึ้นเพื่อดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค การตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร,แผงลอยและร้านชำ มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาให้ร้านอาหาร,แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำในชุมชนผ่านเกณฑ์ประเมินตามเกณฑ์มาตราฐานร้านอาหารปลอดภัย

 

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและสินค้าที่จำหน่ายในชุมชน

 

0.00
4 เพื่อให้ อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค ผู้นำชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ สามารถนำความรู้ไปแนะนำประชาชนในชุมชนได้ถูกต้อง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง   จำนวน 50 คนๆ ละ  2  มื้อๆ ละ 25บาท                เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง             จำนวน 50คนๆ ละ 1  มื้อๆ ละ 50  บาท                  เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                 เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม
    จำนวน 4 กลุ่มๆ ละ 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท          เป็นเงิน   4,800 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1 x 2 เมตร   จำนวน 1 แผ่นๆ ละ 500 บาท                    เป็นเงิน   500   บาท
      -ค่าสมุดปกอ่อน จำนวน 45 เล่มๆละ 10 บาท              เป็นเงิน  450 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 45 แท่งๆละ5 บาท                    เป็นเงิน  225 บาท -ค่าโปสเตอร์ให้ความรู้เรื่องยาอันตราย/ยาอันตรายจากชายแดน จำนวน 2 แผ่นๆละ 20 บาท 29 ร้าน
    เป็นเงิน  1,160 บาท รวมเป็นเงิน 13,935 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์     ในการพัฒนาร้านของตนเอง
  2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำ  จำหน่ายอาหารและสินค้าที่ปลอดภัย     ต่อผู้บริโภค
    1. ร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน
    2. มีการเฝ้าระวังการโฆษณาเกินจริงโดยเครือข่ายในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13935.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดทดสอบยีสและเชื้อราในอาหาร จำนวน 2 ชุดๆ ละ700 บาท        เป็นเงิน   1400 บาท
  • ค่าชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร จำนวน  2 ชุดๆ ละ963  บาท       เป็นเงิน  1,926  บาท
  • ค่าชุดทดสอบบอแรกซ์และสารเคมี ในอาหาร จำนวน  2  ชุดๆ ละ  150  บาท         เป็นเงิน     300  บาท
  • ค่าชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) ในอาหาร
    จำนวน 2 ชุดๆ ละ  170 บาท                         เป็นเงิน  340  บาท
  • ค่าชุดทดสอบหายาฆ่าแมลง   จำนวน 2 ชุดๆละ 428  บาท       เป็นเงิน  856 บาท
  • ค่าชุดทดสอบตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียSI จำนวน 2 ชุดๆ ละ 642บาท เป็นเงิน 1,284 บาท รวมเป็นเงิน6,106 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์     ในการพัฒนาร้านของตนเอง
  2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำ  จำหน่ายอาหารและสินค้าที่ปลอดภัย     ต่อผู้บริโภค
    1. ร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน
    2. มีการเฝ้าระวังการโฆษณาเกินจริงโดยเครือข่ายในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6106.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,041.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ในการพัฒนาร้านของตนเอง
2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำจำหน่ายอาหารและสินค้าที่ปลอดภัย
ต่อผู้บริโภค
3. ร้านอาหาร , แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านชำได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน
4. มีการเฝ้าระวังการโฆษณาเกินจริงโดยเครือข่ายในชุมชน


>