กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้องสมองแจ่มใส ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ

1.นางลาตียา มะหมาด ตำแหน่ง หัวหน้าสถานศึกษา เบอร์ติดต่อ 091-6986805
2.นางฮาหวา ตะฮาวัน ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 082-4387931
3.นางสริญา สตอหลงตำแหน่งผู้ดูแลเด็ก เบอร์ติดต่อ 086-3090060
4.นายอะนัส กาสา ตำแหน่ง ส.อบต /คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ
5.นางสาวฮามีส๊ะ ยาหนา ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก เบอร์ติดต่อ 062-7716294

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีศักยภาพสูงอันเป็นปัจจัยหลัก ในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาคน คือ การพัฒนาสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบเป็นช่วงสมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้ คือ รากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น วัย 5 ขวบแรกจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบุูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญของร่างกาย เมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบิกบาน พร้อมเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ อาหารเช้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจากการสอบถามและสังเกตุจากเด็กนักเรียนทั้งหมด ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์มาโรงเรียน และ จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กเพราะการที่นักเรียนไดรับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า และจะทำให้เด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้น อาหารเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบชองผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัยเนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองใส เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริยเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย จากการจัดกิจกรรมปีที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน พบว่า เมื่อเสร็จสิ้นโครงการเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน ร้อยละ 70 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน(คน)

10.00 5.00
2 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กินอาหารเช้าอย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้น

5.00 10.00
3 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กินอาหารเช้าอย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้น

5.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม ศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.ประเมินภาวะโภชนาการในเด็กโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง บันทึกผลลงแบบบันทึก

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2566 ถึง 20 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ ร่วมสร้าง โภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ ร่วมสร้าง โภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ ครู ผู้ปกครองที่มีภาวะโภชนาการกว่าเกณฑ์ จำนวน 20 คน เพื่อขับเคลื่อนงานโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจุดประกายความคิดเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมโภชนาการ และให้ผู้เข้าร่วมทำแบบประเมินวัดความรู้ ความเข้าใจก่อนการอบรม - หลังการอบรม
กำหนดการ
เวลา 13.00 น ลงทะเบียน /เปิดพิธี
เวลา 13.30-14.30 น วิเคราะห์การจัดอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนเองและการแก้ปัญหา โดยวิทยากรโดยนักโภชนาการ ร.พ.ควนโดน
เวลา 14.30 -15.30 น วางแผนจัดการด้านอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยนักโภชนาการ ร.พ.สตูล
เวลา 15.30 -16.30 น เทคนิคการทำอาหารให้อร่อย และรูปลักษณ์ชวนกินสำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิทยากรนักโภชนาการ ร.พ.สตูล
เวลา 16.30 น ปิดพิธี
รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คนๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 500.- บาท
2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600.- บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท
3.ค่าป้ายไวนิลและเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน 1,920.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2566 ถึง 25 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4220.00

กิจกรรมที่ 3 เสริมอาหารเช้าให้น้องอิ่มท้อง สมองแจ่มใส

ชื่อกิจกรรม
เสริมอาหารเช้าให้น้องอิ่มท้อง สมองแจ่มใส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง พร้อมแปลงผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ติดตามเด็กก่อนวัยเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง และให้อาหารเสริมนมแก่เด็กทุกวันทำการ ในภาวะที่พบขาดสารอาหารรุนแรง ประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อส่งเข้ารักษาต่อ โดยเมนูประจำสัปดาห์หมุนเวียนตามความเหมาะสม
รายละเอียดงบประมาณ
1.จัดทำอาหารเช้าเพื่อน้อง ทุกวันทำการสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 10 คนๆละ 16.- บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน 16,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับสารอาหารเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,220.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานลดลง
2.จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กินอาหารเช้า อย่างน้อยวันละ 400 กรัมเพิ่มขึ้น


>