กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสะกอมปีงบประมาณ2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสะกอม

หมู่ที่ 5บ้านชายคลองตำบลสะกอมอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสะกอม)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

8.00

เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสะกอมทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้ มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานนั้น
ด้วยเหตุดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสะกอมได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

8.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2023

กำหนดเสร็จ 07/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมชี้แจงผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ครู และผู้เกี่ยวข้อง 2. จัดประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ครู และผู้เกี่ยวข้องทราบ 3. สำรวจ และคัดกรองเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมชี้แจงผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ครู และผู้เกี่ยวข้อง 2. จัดประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ครู และผู้เกี่ยวข้องทราบ 3. สำรวจ และคัดกรองเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 61 คน ที่ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมในการชี้แจงรายละเอียด

  2. วิทยากร เป็นผู้ประชุม ให้ความรู้ผู้ปกครอง และชี้แจงรายละเอียด จำนวน 2 คน

  • เครื่องดื่ม จำนวน 63 คนๆละ 25 บาทเป็นเงิน1,575 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท) 1,575.00บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 7 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและครูได้รับความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ ในเด็กปฐมวัย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1575.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ชื่อกิจกรรมการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง1. ให้เด็กปฐมวัยได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง1.1 เด็กปฐมวัยที่มีน้ำหนักและส่วนสูงปกติจะชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงทุก 3 เดือน1.2 เด็กปฐมวัยที่มีน้ำหนัก และส่วนสูงผิดปกติ เช่นผอม /ค่อนข้างผอม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ชื่อกิจกรรมการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง1. ให้เด็กปฐมวัยได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง1.1 เด็กปฐมวัยที่มีน้ำหนักและส่วนสูงปกติจะชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงทุก 3 เดือน1.2 เด็กปฐมวัยที่มีน้ำหนัก และส่วนสูงผิดปกติ เช่นผอม /ค่อนข้างผอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอุปกรณ์เครื่องชั่งน้ำหนักจำนวน1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท
  2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.2 X 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน500 บาทจำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท) 3,000.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 7 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดสุวนสูง พร้อมกับแก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัยที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ชื่อกิจกรรมเด็กปฐมวัยได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง และให้เด็กได้รับอาหารเสริมโปรตีน (ไข่) สัปดาห์ละ 3 ฟอง/คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ชื่อกิจกรรมเด็กปฐมวัยได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง และให้เด็กได้รับอาหารเสริมโปรตีน (ไข่) สัปดาห์ละ 3 ฟอง/คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารเสริมโปรตีน (ไข่) สัปดาห์ๆละ 3 ฟองๆละ5 บาทเป็นเงิน 2,250 บาทต่อคนๆละ 30 ฟอง (เด็กปฐมวัยประมาณ 15 คน) จำนวน450ฟอง จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท) 2,250.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 7 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กปฐมวัยได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงทุกคน

  2. ติดตามผลเด็กปฐมวัยที่ได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,825.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการมีการถัวเฉลี่ย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการ

2. เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก ๒ – ๕ ปี


>