กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กเยาวชนตั้งใจเดินเบิร์นไขมันตำบลนาท่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

กลุ่มออกกำลังกายตำบลนาท่อม

1.นางทิวาพร บริรักษ์

2.นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์

3.นางประภาพร เฉลาชัย

4.นางเยาวดี คงศรี

5.นางปิยวดี อนุรักษ์

ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี........613......คนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ........167......คน

 

27.20

เนื่องด้วยปัจจุบันเด็กเยาวชน ของตำบลนาท่อม ที่มี อายุ ช่วง 5-17 ปี จำนวน 613 คน แต่มีคนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเพียง 167 คน คิดเป็นร้อละ 27.20 ยังมีกลุ่มเยาวชนที่ไม่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอจำนวน 446 คน คิดเป็นร้อลละ 72.75 ซึ่งสืบเนื่องจากเด็กเยาวชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกิจกรรมการขยับกายเคลื่อนไหวร่างกาย ด้วยค่านิยมทางสังคม เด็กเยาวชนหมกมุ่นมักใช้เวลาว่างไปกับมือถือ และประกอบกับการเลือกรับประทานอาหารที่เป็นอาหารสำเร็จรูป ฟาสฟู๊ด สะดวกแต่ไม่มีประโยนช์ถูกหลักโภชนาการ ก่อให้เด็กเยาวชนมีภาวะน้ำหนักเกินไม่สมส่วน ทางกลุ่มออกกำลังกายตำบลนาท่อมซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้ดำเนินการกิจกรรมทางกายที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ มีผู้นำที่เป็นอาสาสมัครด้านกีฬาและผู้นำออกกำลังกาย เห็นถึงสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว จึงเข้าร่วมทุนสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเด็กเยาวที่มีน้ำเกินไม่สมส่วน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสามารถเป็นต้นแบบให้เด็กเยาวชนของตำบลนาท่อมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

27.20 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานร่วมกับกลไกขับเคลื่อนโครงการร่วมกำหนดแผนการดำเนินงาน วางแนวทางการในการทำกิจกรรม แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน กลไกขับเคลื่อนมาจากการ อสก.แต่ละหมูบ้าน (อาสาสมัครด้านกีฬาและผู้นำออกกำลังกาย) หมู่บ้านละ 2 คน เพื่อมาเป็นผู้นำและเป็นผู้ประสานงานในหมู่บ้าน คณะทำงาน 5 คน อสก. 16 คน
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 21 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 420 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มกราคม 2566 ถึง 7 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกลไกขับเคลื่อนโครงการ ที่มาจาก ทุกหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
420.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมสร้างความเข้าใจเด็กเยาว์ชนกลุ่มน้ำหนักเกิน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างความเข้าใจเด็กเยาว์ชนกลุ่มน้ำหนักเกิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสร้างความเข้าใจกลุ่มเด็กเยาวชนที่มีน้ำหนักเกิน ชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ ให้ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย มีการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพเด็ก การชั่งน้ำหนักส่วนสูง รอบเอว พฤติกรรมการกินอาหารพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการกำหนดแนวทางการทำกิจกรรมทางกาย การสร้างช่องทางการสื่อสาร โดยมีวิทยากร กลุ่มเด็กเยาวชนน้ำหนักเกิน 30 คน แกนนำ 10 คน คณะทำงาน 5 คน
1.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
2.ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 1 คน 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
3.เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,000 บาท
4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มกราคม 2566 ถึง 26 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต

ได้ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพเด็กเยาวชน ได้แกนนำเป็นกลไลช่วยขับเคลื่อน 10 คน มีช่องทางการสือสารข้อมูล

ผลลัพธ์

กลุ่มเป้าหมายรับทราบวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ มีความรู้เข้าใจในเรื่องการทำกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2950.00

กิจกรรมที่ 3 เดินเบิร์นไขมัน ทุกวันอาทิตย์

ชื่อกิจกรรม
เดินเบิร์นไขมัน ทุกวันอาทิตย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเด็กเยาวชนทำกิจกรรมทางกาย ด้วยการเดินออกกำลังกาย ไปยังสถานที่แหล่งเรียนรู้ของตำบลนาท่อม เดินไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เดินไปเยี่ยมผู้สูงอายุ ปราชญ์ชาวบ้าน ในกิจกรรมการเดินและกิจกรรมทางกาย สันทนาการ อย่างน้อยต้องใช้เวลา 60 นาที และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 เดือนๆละ 4 ครั้ง รวม 12 ครั้ง จะมีการติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกครั้ง มีการเก็บข้อมูลสถานการณ์ทุกครั้ง
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ 20 บาท จำนวน 12 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 กลุ่มเด็กเยาวชนได้ทำกิจกรรมทางกาย

2 มีข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของเด็กเยาวชน

3 มีผลลัพธ์การแลกเปลี่ยนการทำกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานโครงการกระบวนการและวิธีการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การปรับเปลี่ยนการขยับกายที่เพียงพอ เป็นวิธีการที่สามารถเพิ่มกิจกรรทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเด็กเยาวชนได้มากน้อยเพียงใด และนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพเด็กเยาวชนที่มีผลการเปลี่ยนแปลงมานำเสนอและมอบประกาศนียบัตรเยาวชนที่เป็นสามาชิก โดยมี คณะทำงาน จำนวน 5 คน แกนนำเด็ก 10 คน อสก. 16 คน
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 31 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 620 บาท
2.ค่าจัดทำประกาศนีย์บัตร 40 ใบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2566 ถึง 7 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 กลุ่มเด็กเยาวชนมีกิจกรรมทางกายที่เพียง
2 รอบเอว น้ำหนัก ลดลง การปรับพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกาย
3 ได้เด็กเยาวชนต้นแบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,790.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
2 กลุ่มเด็กเยวาชนสามารถเป็นต้นแบบเรื่องการทำกิจกรรมทางกายได้
3 กลุ่มเด็กเยาวชนเป็นแกนนำสามารถร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน


>