กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัยฟันดี ทานอย่างไรให้อร่อยรพ.สต.บูกิต ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทย ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 โดยมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงปี พ.ศ.2567-2568 (ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ทางด้านระบบสาธารณสุขของไทยได้ตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพร่างกายและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องก็จะช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของร่างกายได้
กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่พบปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างชัดเจน ปัญหาสุขภาพช่องปากหลักๆ แบ่งออกเป็น7 ประการ ได้แก่ (1) ฟันผุและรากฟันผุ (2) โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ (3) ฟันสึก (4) น้ำลายแห้ง (5) การสูญเสียฟันและปัญหามาจากการใส่ฟันปลอม (6) มีแผลหรือรอยโรคมะเร็งในช่องปาก และ (7) ปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องมาพบทันตแพทย์ เพราะหากเกิดการสูญเสียฟันไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ทั้งยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันด้านบุคลิกภาพ การเข้าสังคม การพูดคุย การเคี้ยวอาหาร การรับรสชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีการกำหนดคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพว่าคนเราเมื่ออายุเกิน 60 ปี ควรจะมีฟันที่ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ มีฟันกรามสบกันดีทั้งซ้ายขวา อย่างน้อยข้างละ 2 คู่ นอกจากนี้ยังต้องมีเหงือกแข็งแรงไม่เป็นโรคเหงือกอักเสบ จึงจะถือว่าเป็นผู้มีสุขภาพช่องปากดี
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต จึงได้จัดโครงการสูงวัยฟันดี ทานอย่างไรให้อร่อย รพ.สต.บูกิต ปี 256๖ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก สู่การมีสุขภาพช่องปากดียั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ผู้เข้ารวมอบรมได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

๑. ผู้เข้ารวมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการตอบแบบสอบถาม หลังการอบรมมากกว่า ก่อนการอบรม

80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างสะอาด และถูกวิธีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕o

๒.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถแปรงฟันสะอาดและถูกวิธีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕o

80.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ (กรณีพึ่งพาตนเอง

ผู้เข้าอบรมสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ โครงการสูงวัยฟันดี ทานอย่างไรให้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ โครงการสูงวัยฟันดี ทานอย่างไรให้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าและ อสม ดำเนินการสำรวจผู้สูงอายุภายในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะการดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจับผิดภาพ อาหารที่มีประโยชน์ต่อฟันและโทษต่อฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจับผิดภาพ อาหารที่มีประโยชน์ต่อฟันและโทษต่อฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองตรวจสุขภาพฟันเดือนละ ๒ ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๒.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถแปรงฟันได้อย่างสะอาดและถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมฝึกแปรงฟันแก่ผู้สูงอายุ โดยการย้อมสีฟัน ก่อนและหลังแปรงฟัน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมฝึกแปรงฟันแก่ผู้สูงอายุ โดยการย้อมสีฟัน ก่อนและหลังแปรงฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน * 25 บาท *2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน *60 บาท *1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท 3.ค่าวิทยากร 6 ชม. *600 บาท *1 วัน เป็นเงิน 3,600 4.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน
ขนาด 1.5 x 2 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ดูแลช่องปาก 70 ชุด *70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ ตลอดจนสามารถลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิด
              โรคฟันผุ โรคปริทันต์ และโรคอื่นๆในช่องปาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะการดูแล
๒.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถแปรงฟันได้อย่างสะอาดและถูกวิธี
๓.ผู้เข้าอบรมมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ ตลอดจนสามารถลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิด
โรคฟันผุ โรคปริทันต์ และโรคอื่นๆในช่องปาก


>