กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน ม.1 บ้านบางขุนทอง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมุขภาพตำบลบ้านโคกงู

1. น.ส นูรีฮ๊ะ อูมา
2. นาง ประนอม พรมเจียม
3. น.ส นูรีซา ดือเย๊ะ
4. นาง มณี เพ็ชรรัตน์
5. นาย นุ้ย เชิดชู

ม.1 บางขุนทอง ตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเท้าช้างเป็นโรคที่ได้รับการประกาศว่าสามารถกำจัดได้แล้วเมื่อกันยายน 2560 เพื่อการติดตามให้การกำจัดมีความยั่งยืน ป้องกันการกลับมาแพร่โรค จึงได้มีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อให้สามารถจัดการควบคุมโรคตามผลของการเฝ้าระวัง ก่อนที่จะเกิดการแพร่กระจายของโรคจนกลับมาเป็นปัญหาอีกในอนาคต
จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดเดียวที่มีปัญหาการแพร่โรคเท้าช้าง โดยมีการรายงานการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างในพื้นที่บริเวณรอบพรุใน 7 อำเภอ 22 ตำบล 87 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยสะสมขึ้นทะเบียนรักษาจนถึง กันยายน 2565 จำนวน 18 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิตทั้งหมด จากการดำเนินงาน โครงการคัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน ตำบลบางขุนทอง พบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย เป็นหมู่ 3 บ้านโคกงู 2 ราย และหมู่ 5 บ้านโคกชุมบก จำนวน 2 ราย ผู้ป่วยได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ สามารถปฎิบัติตนได้ถูกต้อง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู ได้ประสานกับทีมควบคุมโรคศูนย์พิกุลทองเพื่อลงพื้นที่ติดตามกลุ่มป่วยและติดตามจ่ายยาโรคเท้าช้างเป็นระยะ เวลา 2 ปี
การควบคุมโรคเท้าช้างในแมวซึ่งเป็นรังโรคในสัตว์ของเชื้อ Brugia malayi ตั้งแต่ปีงบประมาณ2537-2560 มีการเจาะโลหิตแมวในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างของจังหวัดนราธิวาสพบอัตราการติดเชื้อลดลงจากปีที่พบการติดเชื้อสูงสุด พ.ศ. 2557 ร้อยละ 10.53 เหลือ ร้อยละ 4.11 ในปี พ.ศ. 2560 และได้ดำเนินการรักษาโดยการฉีดยา Ivermectin เพื่อฆ่าเชื้อพยาธิในแมว โดยเริ่มฉีดยาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 จนถึงปีงบประมาณ 2559 มีความครอบคลุม ร้อยละ 10.5
จากการสำรวจทางกีฏวิทยาในปี พ.ศ. 2559 พบยุงที่เป็นพาหะชองโรคเท้าช้าง คือ Mansonia uniformis ที่มีพยาธิเท้าช้างระยะ L3 จำนวน 1 ตัว ในตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ ปี พ.ศ. 2561 พบเชื้อพยาธิเท้าช้าง ระยะ L2 หรือตัวอ่อนระยะก่อนติดเชื้อ (pre-infective lavae) ในยุงชนิด Mansonia annulataแต่ไม่พบตัวอ่อนระยะ L3 ในตัวยุง
จากการที่พบผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสโลหิตเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการคัดกรองสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพื่อหาว่า ยังมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชนิดนี้ อีกหรือไม่ โดยการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อในประชากร อายุ 2 ปีขึ้นไป ทุกคน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อโรคเท้าช้างในคน

ประชาชนติดเชื้อโรคเท้าช้างลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย

ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,129
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ อสม. และแกนนำหมู่บ้าน เพื่อลงพื้นที่คัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ อสม. และแกนนำหมู่บ้าน เพื่อลงพื้นที่คัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ อสม. และแกนนำหมู่บ้าน เพื่อลงพื้นที่คัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในชุมชน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 4,800
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าแผ่นผับความรู้เรื่องโรคเท้าช้าง เพื่อให้ อสม. ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าจ้างทำป้ายไวนิล จำนวน 2 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคเท้าช้างในพื้นที่
2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย


>