กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้พิการปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ศูนย์บริการผู้พิการตำบลบางขุนทอง

1.นายสังข์ หะยะมิน
2.นางสาวดวงใจ สุขจันทร์
3.นางจันทร์แจ่ม อินอุ้ย
4.นางมณี เพ็ชรรัตน์
5.นางสาวขนิษฐา สุตตานา

รพ.สต.บ้านโคกงู และศูนย์บริการผู้พิการตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู จำนวน 4 หมู่บ้าน มีผู้พิการ จำนวน 124 ราย แบ่งเป็น 7 ประเภท ความพิการ คือ ทางการมองเห็นทางการได้ยิน ทางร่างกาย ทางจิตใจหรือพฤติกรรม ทางสติปัญญา ทางการเรียนรู้ และออทิสติกในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยที่ติดเตียง 8 ราย
เนื่องจากความพิการทางด้านร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนจึงเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม
ดังนั้นเพื่อให้มีการดูแลผู้พิการอย่างต่อเนื่องยั่งยืนทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู รวมถึงภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน และอสม. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้พิการปี 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนพิการมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับที่พึ่งพาตนเองได้

คนพิการมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับที่พึ่งพาตนเอง ร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อให้ผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถส่งเสริมคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

ผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถส่งเสริมคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ร้อยละ 50

0.00
3 คนพิการและผู้ดูแลผู้พิการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ดูแลคนพิการ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 79
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมผู้ดูแลผู้พิการและ อาสาสมัคร อย่างรอบด้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมผู้ดูแลผู้พิการและ อาสาสมัคร อย่างรอบด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดอบรมให้ความรู้การดูแลผู้พิการ จำนวน 79 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,950 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันในการจัดอบรมให้ความรู้การดูแลผู้พิการ จำนวน 79 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,950 บาท รวมเป็นเงิน 7,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนพิการมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในระดับที่พึ่งพาตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม อบรมส่งเสริมอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมส่งเสริมอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากรอบรม500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าวัสดุในการฝึกอบรมอาชีพ เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม 79 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,975 บาท รวมเป็นเงิน 4,475 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้พิการหรือผู้ดูแลผู้พิการมีอาชีพสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4475.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,375.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.ลดภาระ/ค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว
3.ลดการครองเตียงในโรงพยาบาล


>