กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชะลอโรคไตชะลอตายแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชะลอโรคไตชะลอตายแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปะลุรู

ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลปะลุรู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับข้อมูลภาระโรคของประชาชน ที่มีการตายหรือภาวะจากการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ นำมาสู่ภาวะการไตวายและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาลตามมาด้วย คนไทยบริโภคโซเดียมเกือบ 4,000 มก.ต่อวัน สูงกว่า WHO กำหนดไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา หรือ 2,000 มก.ต่อวัน ถึง 2 เท่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
แผนยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทยปี 2559-2568 จึงกำหนดเป้าหมายให้ประชาชนลดเกลือและโซเดียมลง 30% ภายในปี 2568 พร้อมกับผลักดันนโยบายภาษีความเค็ม โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลเสียสุขภาพประชาชน ข้อมูลองค์การอนามัยโลก WHO ระบุว่าผลการสำรวจที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ เด็กไทยบริโภคเกลือมากเกินความจำเป็น เฉลี่ยมากถึง 3,194 มก.ต่อวัน ซึ่งเป็นระดับการบริโภคที่สูงเกินกว่าเกณฑ์แนะนำสำหรับกลุ่มเด็ก การบริโภคโซเดียมมากเกินไป เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง นำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบตัน และไตวาย รวมทั้งโรคเรื้อรังชนิดอื่นๆ นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรตามมา
ทั้งนี้จากการสำรวจปริมาณการบริโภคโซเดียมในประชากรทั่วประเทศ โดย ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยการตรวจวัดโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชม. จากกลุ่มตัวอย่าง 2,388 คน อายุเฉลี่ย 43 ปี ใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นเพศหญิงร้อยละ 53 พบว่า คนไทย บริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,632 มก.ต่อวัน หรือ 1.8 ช้อนชา โดยบริโภคเฉลี่ยเยอะที่สุดในภาคใต้ 4,108 มก.ต่อวัน รองลงมา คือ ภาคกลาง 3,760 มก.ต่อวัน ภาคเหนือ 3,563 มก.ต่อวัน กรุงเทพมหานคร 3,496 มก.ต่อวัน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,316 มก.ต่อวันกลุ่มบริโภคเกลือมาก คือ คนอายุน้อย (เริ่มสำรวจตั้งแต่อายุ 18 ปี) บริโภคเกลือมาก ส่วนคนอายุมาก ทานน้อยลง และ กลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลับกินเค็มมากกว่าคนปกติ ขณะที่ คนที่น้ำหนักเกิน อ้วน กินเกลือมากกว่าคนน้ำหนักปกติเช่นกัน โดยแหล่งของเกลือที่คนไทยได้รับ มากจากการกินอาหารนอกบ้าน 80% ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปะลุรู จึงเล็งความสำคัญของโรคดังกล่าว จึงได้เสนอจัด โครงการชะลอโรคไตชะลอตายแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้อสม.แต่ละชุมชน มีความรู้ และสามารถค้นหา คัดกรอง ประเมินและติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆในชุมชน

อสม.แต่ละชุมชน สามารถ ค้นหา คัดกรอง ประเมินและติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคเรื้องรังอื่นๆ ในเขตรับผิดชอบได้

70.00 70.00
2 เพื่อให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกวิธีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ญาติและประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

ผู้ป่ายโรคเรื้อรัง ญาติ และประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง มีความรู้เรื่องพฤติกรรมการอาหารที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น

240.00 240.00
3 เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู

อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในเขตรับผิดชอบลดลง

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 110
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อสม. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อค้นหา คัดกรอง ประเมินผล และติดตาม ผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน เพื่อชะลอการเกิดภาวะไตก่อนวัยอันควร

ชื่อกิจกรรม
อสม. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อค้นหา คัดกรอง ประเมินผล และติดตาม ผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน เพื่อชะลอการเกิดภาวะไตก่อนวัยอันควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 1.ค่าอาหารกลางวัน 70 คน50 บาท *1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน *25 บาท2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท รวมเป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกวิธีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ญาติและประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกวิธีสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ญาติและประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2
1.ค่าอาหารกลางวัน กลุ่มละ
80 คนๆล 50 บาท * 1 มื้อ* 3 วัน
เป็นเงิน 12,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มละ 80 คนๆละ 25 บาท * 2 มื้อ
* 3 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท 3.ค่าวิทยากรจำนวน 2 คนๆละ
3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท * 3 วัน
เป็นเงิน 5,400 บาท
4.ค่าวัสดุในการสาธิตอาหาร ชุมชนละ 500 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 5.ค่าวัสดุในคัดกรอง - ค่าเครื่องวัดความดัน ยี่ห้อ OMRON Automatic Blood
Pressure Monitor 1 เครื่อง ราคา 2,190 บ. -เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบไร้สาย (ตรวจเบาหวาน) ACCU-CHEK รุ่น GUIDE ราคา 2,900 บาท - แถบตรวจ ACCU-CHEK
รุ่น GUIDE ราคา 450 บาท * 5กล่อง เป็นเงิน 2,250 บาท - เข็มเจาะเลือด ACCU-CHEK Fastclix ราคา 130 บาท 5 กล่อง เป็นเงิน 650 บาท
- สำลีก้อน Cotton Balls ขนาด 40 g ราคา 25 บาท
2 ถุง เป็นเงิน
50 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 41,440 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม.แต่ละชุมชน มีความรู้ และสามารถค้นหา คัดกรอง ประเมินและติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆในชุมชน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
2.ผู้ป่ายโรคเรื้อรัง ญาติ และประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง มีความรู้เรื่องพฤติกรรมการอาหารที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น
3.อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในเขตรับผิดชอบลดลง


>