กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจ ใส่ใจผู้สูงอายุ ปีงบประมาณพ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

ศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

1นางจันทิมาสติรักษ์
2นายวีระขันธจีระวัฒน์
3นางสูหัยลาหินมะ
4นางซูไวบ๊ะห์สมานธรรมกุล
5นายฮาซันลูโล๊ะ

ศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลปะลุรู จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมต่างๆที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิติตลอดจนการบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสังคมและชุมชน และเป็นการพัฒนาจิตใจให้ผู้สูงอายุมีความสดชื่น เบิกบาน ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร และข้อมูลสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พบว่า สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในระดับครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติได้ สุขภาพของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
จึงเป็นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญ ในการแก้ไขปัญหาเพราะเป็นการสร้างความเป็นองค์กรชุมชนและความเอื้ออาทรให้แก่เพื่อนสมาชิกชมรมและสังคม ปัจจุบันศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีสมาชิกจำนวน 140 คน ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมในทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 2 ของทุกสองเดือน ทางศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจ ใส่ใจผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 ขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจ

ร้อยละ 70 ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจ

60.00 60.00
2 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

ผู้สูงอายุได้รับขวัญและกำลังใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า ร้อยละ 80

60.00 60.00
3 เพื่อสร้างเสริมเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

สามารถเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

8.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.คัดกรองสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1.คัดกรองสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองสมาชิกทุกครั้งที่จัดกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นจำนวน 6 ครั้ง (2 ครั้ง/เดือน)

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นจำนวน 6 ครั้ง (2 ครั้ง/เดือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นจำนวน  6 ครั้ง (2 ครั้ง/เดือน) 1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ของผู้เข้าอบรม จำนวน 60 คน X 50 บาท X 6 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน X 25 บาท X 6 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน  2 คนๆ 3 ชม.ละ 300 บาท X 6 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท 4.ค่าวัสดุ เป็นเงิน 9,870 บาท     - กระเป๋าผ้าใส่เอกสาร50 บาท X 60 ใบ  เป็นเงิน 3,000 บาท
- คู่มือสุขภาพ เล่มละ 100 บาท X60 เล่ม  เป็นเงิน 6,000 บาท - ปากกา ด้ามละ 5  บาท X 60 ด้าม เป็นเงิน 300 บาท - สมุด เล่มละ5  บาท X 60 เล่ม เป็นเงิน 300 บาท - ปากกาเคมี ด้ามละ 15 บาท X 12 ด้าม   เป็นเงิน 180 บาท - กระดาษ แผ่นละ 3 บาท X 30 แผ่น  เป็นเงิน 90 บาท
รวมเป็นเงิน  56,670 บาท หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56670.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,670.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจ ร้อยละ 80
2.ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าร้อยละ 80
3.สามารถเสริมเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง


>