กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายการจัดการขยะชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศนับวันมีขยะสะสมในปริมาณที่มากขึ้น เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีมาตรการรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้
จังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “ยะลาสะอาด”ประจำปีพ.ศ 2565 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่น และเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน” เทศบาลเมืองสะเตงนอก จึงได้ทำโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายการจัดการขยะชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

 

0.00
2 2. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับประชาชน ตระหนักในการคัดแยกขยะครัวเรือนที่ต้นทาง

 

0.00
3 3. เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

 

0.00
4 4. เพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 450
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กลุ่มเป้าหมายในการเข้ารับการอบรม
1.1.1 อบรมคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยและคณะทำงาน จำนวน 80 คน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ค่าอาหารกลางวัน 80 คน x 75 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คนx 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท 3. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,500 บาท 4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร เป็นเงิน 900 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์
- แฟ้ม,สมุดและปากกา จำนวน 80 ชุด x 35 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,800 บาท 1.1.2 อบรบกลุ่มเป้าหมาย 13 หมู่ จำนวน 300 คน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ค่าอาหารกลางวัน (กลุ่มเป้าหมาย) 2 รุ่นๆ ละ 150 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 22,500 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน (คณะทำงาน) 2 รุ่นๆ ละ 13 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,950 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมาย) 2 รุ่นๆ ละ 150 คน x 35 บาท x 2 มื้อ
เป็นเงิน 21,000 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) 2 รุ่นๆ ละ 13 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,820 บาท 5. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท x 5 ชั่วโมง x ๒ รุ่น เป็นเงิน 5,000 บาท 6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ - แฟ้ม,สมุดและปากกา จำนวน 300 ชุด x 35 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 62,770 บาท
1.1.3 อบรบกลุ่มเป้าหมาย (เชิงรุก) จำนวน 150 คน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมาย) 3 รุ่นๆ ละ 50 คน x 35 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 5,250 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) 3 รุ่นๆ ละ 20 คน x 35 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท 3. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท x 3 รุ่น x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 4,500 บาท 4. ค่าวัสดุปุกรณ์ - แฟ้ม,สมุดและปากกา จำนวน 150 ชุด x 35 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น17,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
97670.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์ การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์ การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธี เช่น เสียงตามสาย     2. ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ไปสาธิตการทำถังขยะอินทรีย์ฝั่งดินในชุมชนและขยายเครือข่ายการทำถังขยะเปียกครัวเรือนในชุมชนได้
    3.1 จัดจ้างทำเอกสารแผ่นพับ เรื่องการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
  2. ค่าเอกสาร จำนวน 1,000 แผ่น x 2 บาท ( มัสยิด, วัด, โรงเรียน และชุมชน)                                                    เป็นเงิน 2,000 บาท
  3. ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ขนาด 1 เมตร x 2 เมตร จำนวน 4๕ ป้าย
    x 600 บาท                                  เป็นเงิน 27,000 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลธงญี่ปุ่นพร้อมขาตั้ง กว้าง ๐.๕ ม. x สูง ๑.๘ ม. จำนวน 4 ชุดๆ ละ ๒,๑๐๐ บาท เป็นเงิน 8,4๐๐ บาท
  5. ค่าโฟมบอร์ด สูง ๐.๗๐ ตรม. x กว้าง ๐.๕๐ ตรม. จำนวน ๗ แผ่น x ๓๐๐ บาท                                 เป็นเงิน ๒,๑๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ติดตามผลการดำเนินงานของการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน จำนวน 450 ครัวเรือน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้         1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) จำนวน 28 คน x 35 บาท x 1 มื้อ x 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,920 บาท         2. ค่ากรอบประกาศนียบัตร จำนวน 13 ชุด x ๒๕๐ บาท      เป็นเงิน ๓,๒๕0 บาท         3. ค่ากระดาษประกาศนียบัตร จำนวน 12 รีม x 300 บาท        เป็นเงิน 3,600 บาท
                           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,770 บาท
        3.2 ถอดบทเรียนจากการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ณ เทศบาลเมืองสะเตงนอก)         1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน
เป็นเงิน 5,600 บาท         2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน x 75 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท                            รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22370.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 159,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะและมีจิตสำนึก ตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆอย่างถูกวิธีและสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง
3. ประชาชนสามารถบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะ ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง ลดการ แพร่ระบาดของโลกที่เกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม
4. ประชาชนดำเนินการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือนด้วยตนเองได้
5. มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ตำบลสะเตงนอก


>