กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

สำนักงานเลขานุการกองทุน อบต.กาวะ

ตำบลกาวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ้งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงการสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์การเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ดังนั้นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบกองทุนสุขภาพท้องถิ่นโดยมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชน บุคคลากรทางสาธารณสุขและบุคคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและท้องถิ่นสมทบอีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นวิธีการอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนได้คระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่จะสร้างเสริมสุขภาพของคนให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงในด้านกายใจ สังคมและปัญญา เพราะฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลกาวะ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 100 การบริหารจัดการกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

90.00 100.00
2 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปอย่างประสิทธิภาพ

ร้อยละ 100 สนับสนุนการปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

90.00 100.00
3 เพื่อจัดทำรายการด้านการเงินและบัญชี กิจกรรมของกองทุน ผ่านการบันทึกและรายงานผ่านระบบออนไลน์

ร้อยละ 100 จัดทำรายการด้านการเงินและบัญชี กิจกรรมของกองทุน ผ่านการบันทึกข้อมูลและรายงานผ่านระบบออนไลน์

95.00 100.00
4 เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

ร้อยละ 100 พิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

90.00 100.00
5 เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

ร้อยละ 100 ควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

98.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 4

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 4
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนการประชุม จำนวน 6 คนๆ ละ 300 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1- ครั้งที่ 4

ชื่อกิจกรรม
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1- ครั้งที่ 4
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 6 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 720 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
720.00

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 4

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 4
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนการประชุม จำนวน 19 คนๆ ละ 400 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30400.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมเสนอโครงการ/คณะกรรมการ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 4

ชื่อกิจกรรม
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมเสนอโครงการ/คณะกรรมการ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 4
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 5 ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน

ชื่อกิจกรรม
ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงานสำหรับการบริหารงานกองทุนฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 6 ค่าเดินทางไปราชการ

ชื่อกิจกรรม
ค่าเดินทางไปราชการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเดินทางไปราชการสำหรับคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 7 ค่าป้ายไวนิล

ชื่อกิจกรรม
ค่าป้ายไวนิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิล ขนาด ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท  เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
720.00

กิจกรรมที่ 8 ค่าถ่ายเอกสาร

ชื่อกิจกรรม
ค่าถ่ายเอกสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,640.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
3. สามารถบันทึกข้อมูลและรายงานระบบออนไลน์ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
4. การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ด้านเอกสารมีความครอบคลุม สามารถค้นหาได้ง่ายและเป็นระเบียบเรียบร้อย สะดวกต่อการใช้งาน
5. มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน


>