กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านทุ่งวิมานปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มรักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งวิมาน

1.นางปิ่นอนงค์ สาลีะ ประธาน อสม.
2.นางฮอดีย๊ะ ตะหวัน อสม.
3.นางทัศนีย์ เต๊ะหมัน อสม.
4.นางสีส๊ะ ยังสมัน อสม.
5.นางอรอนงค์ สาเล๊ะ อสม.

อาคารเอนกประสงค์ ม.2 บ้านทุ่งวิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานานมีความหลากหลายเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชุมชน สังคม การใช้ยาสมุนไพรนั้นตอบสนองความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดีด้วยวิถีธรรมชาติบำบัด สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง คนไทยนำสมุนไพรมาปรุงเป็นอาหารรับประทานกับข้าว ใช้สมุนไพรปรุงเป็นยารับประทานรักษาอาการเจ็บป่วย ทำผลิตภัณฑ์เป็นครีมบำรุงผิว เป็นน้ำมันเอ็น เป็นยานวดคลายกล้ามเนื้อ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นยาที่ใช้ภายนอก และภายในแบบง่ายๆ ด้วยวิธีการผลิตที่ชาวบ้านประชาชนสามารถทำได้ และไว้ใช้เองได้ เช่น การผลิตน้ำมันหม่องสำหรับถูนวดการผลิตลูกประคบสมุนไพรแก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อและการทำยาดมสมุนไพรสูดดมแก้วิงเวียนศรีษะ
การแพทย์ทางเลือกกิจกรรมการแพทย์แผนไทยได้แก่ การนวด อบ ประคบสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรมาเป้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การปลูกสมุนไพรเพื่อนำมาใช้เองซึ่งประโยชน์ของการนวดสามารถบำบัดอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายความเครียด ปวดกลังปวดเอวลดการใช้ยาเองได้ การอบสมุนไพรช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนให้ดีขึ้น บำบัดโรคภูมิแพ้ ลดการอักเสบฟกซ้ำของกล้ามเนื้อข้อ และการแปรรูบเป็นโลชั่นกันยุงจากตระไคร้หอม แชมพูจากอัญชัญ ยาหม่องสมุนไพร ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัยทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสถาพของประชาชน จากเหตุผลดังกล่าวทาง กลุ่มรักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งวิมาน ได้เล็งเห็นความสำคัญและตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยจัดทำโครงการสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านควนปี 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุมีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ

ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพ และผู้สูงอายุ มีการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุ ฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยคงอยู่สืบไป

ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพ และผู้สูงอายุ ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำลูกประคบ ทำยาดมสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำลูกประคบ ทำยาดมสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และสื่อสารประชาชนสร้างการรับรู้ผ่านสื่อในมัสยิด
2.ประชุมชี้แจงแกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุ เรื่องการจัดอบรม “สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านทุ่งวิมานปี 2566
ทำแบบทกสอบก่อนการอบรม(Pre-Test) จำนวน 50 คน
3.จัดการอบรมให้ความรู้กับ แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุ โดยให้ความรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในชุมชน
-เรื่องสมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากว่า 10 ขนิด คือ ฟ้าทะลายโจร, ขิง,ขมิ้นชัน,กระชายขาว,กะเพราแดง,ไพล,ใบบัวบก,ตะไคร้,ช้าพลู,ว่านหางจระเข้,มะระขี้นก,สะระแหน่
- กิจการสาธิตการเตรียม การทำลูกประคบสมุนไพร, ยาดมหม่องไพร
4.ทำแบบทกสอบหลังการอบรม(Post-Test) จำนวน 50 คน
รายละเอียดงบประมาณ
-ค่าอาหารว่างแลเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน X 75 บาท X 1มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท
-ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงๆละ600บาท ( 6 ชั่วโมง ) เป็นเงิน 3,600 บาท
-ค่าอุปกรณ์ใช้ทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรลูกประคบ เป็นเงิน 7,050 บาท ทำลูกประคบสมุนไพร
- ไพรแห้งบดหยาบ 5 กิโลกรัม 1,500 บาท
- ขมิ้นแห้งบดหยาบ 3 กิโลกรัม 900 บาท
- ตะไคร้แห้งบดหยาบ 3 กิโลกรัม 900 บาท
- ใบมะขามอบแห้ง 2 กิโลกรัม 700 บาท
- ผิวมะกรูดอบแห้ง 2 กิโลกรัม 800 บาท
- ใบส้มป่อย 2 กิโลกรัม700 บาท
- พิมเสน ครึ่งกิโลกรัม 600 บาท
- การบูร ครึ่งกิโลกรัม 350 บาท
- ผ้าได้ดิบหอลูกประคบ500 บาท
- เชือกได้ดิบ 100 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น7,050 บาท
-ค่าอุปกรณ์ใช้ทำผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรพร้อมขวดเป็นเงิน 3,100 บาท
ทำยาดมสมุนไพร
- พริกไทยดำ 500 กรัม 200 บาท
- ไพลแห้ง 500 กรัม 200 บาท
- กระชายแห้ง 500 กรัม 300 บาท
- กานพรู500 กรัม 300 บาท
- ว่านน้ำ 500 กรัม 300 บาท
- ลูกกระวานแห้ง 500 กรัม 350 บาท
- หัวเปราะแห้ง 500 กรัม 250 บาท
- รกจัน 500 กรัม 700 บาท
- ขวดยาหม่อง 100 ใบ 400 บาท
- กรรไกรตัดยา 3 ด้าม 100 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,100 บาท
กำหนดการอบรมโครงการ
08.30-09.00 น.ลงทะเบียน
09.00-09.30 น.ทำแบบทกสอบก่อนการอบรม(Pre-Test)
09.30-10.30 น.ความรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน 10 ชนิด
10.30-10.45 น.พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.ความรู้การทำลูกประคบสมุนไพร
12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 น.ความรู้การทำยาดมสมุนไพร
14.00-15.00 น.สาธิตการทำลูกประคบ ยาดมสมุนไพร
14.00-15.00 น. สาธิตการทำลูกประคบ ยาดมสมุนไพร
15.00-15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15-16.00 น. ทำแบบทกสอบหลังการอบรม(Post-Test)
16.00-16.30 น. ซักถามปัญหา ข้อสงสัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพ และผู้สูงอายุ มีความรู้ การปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ 2.ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพ และผู้สูงอายุ ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ส่งเสริมการปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชนบ้านควน จำนวน 10 ชนิด โดยแกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุ อสม. นำสมุนไพรมารวมกลุ่มกัน เพาะ ปลูก เป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชนเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันด้าน บริโภค บำบัดรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ ในครัวเรือน
2.ต่อยอดขยายการเพาะ ปลูก พืชสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชนบ้านควนในเขตรับผิดชอบของ อสม. ให้ได้ร้อยละ 20 ของหลังคาเรือน และนำมาทำเป้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ใช้เอง แจกจ่ายเพื่อนบ้าน ผู้สูงอายุ ขายเป็นรายได้เสริมต่อไป
3.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ปัญหา อุปสรรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 20 ของครัวเรือนมีการเพาะ ปลูก พืชสมุนไพรพื้นบ้านใช้บำบัดรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ เองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุมีความรู้ การปลูกและอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ฟื้นฟูสภาพ
2.ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เช่นใช้ลูกประคบในผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน
3.ส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพ ผู้สูงอายุ ฟื้นฟูภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยให้คงอยู่สืบไป


>