กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGSตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGSตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

กองทุนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาส ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส Sukhirin Climate Fund (SCF)

1.นายชัยวัฒน์ แก้วดำ
2.นายอภิสิทธิ์ บินซา
3.นางสาวฟาร์ตีฮะห์ดาโอะ
4.นางสาวอภิรดีศรีสุวรรณ์
5.นางสาวนุรอาไอซ๊ะห์เจะและ

พื้นที่จำนวน 13 หมู่บ้าน ในเขตตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

80.00
2 สัดส่วนของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

30.00

เนื่องจากคนในชุมชนสุคิรินส่วนมาก ต้องใช้เวลาในการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้จึงทำให้ชาวบ้านไม่มีเวลาปลูกผักเพื่อรับประทานเองในครัวเรือน และนิยมเลือกซื้อผักจากตลาดสด หรือรถเร่ขายของในหมู่บ้าน ซึ่งมีผักให้เลือกหลากหลาย ซื้อง่ายและสะดวก โดยผักที่ชาวบ้านซื้อมาบริโภคส่วนมากนำมาจากพื้นที่อื่น อาจจะมีการปนเปื้อนสารเคมี และส่งผลต่อสุขภาพของชาวบ้านได้ ทั้งนี้จากรายงานประจำปีที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุคิริน ที่ได้ทำการตรวจวัดปริมาณสารเคมีปนเปื้อนในเลือดของประชาชนภายในตำบลพบว่า ประชาชนได้รับสารเคมีปนเปื้อนในเลือดอยู่ในระดับที่น่าวิตกกังวล อย่างมีนัยสำคัญ ปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากสถิติจำนวนชองผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษ เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่มักจะมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและยังคงตกค้างในผลผลิต ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริงจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษในพื้นที่เพื่อลดสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ต่อไป
คณะกรรมการกองทุนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาสเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดริเริ่ม “โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2566” เพื่อพัฒนาและสร้างแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของคนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและเกิดความตระหนักถึงปัญหาในการบริโภคอาหารและพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและเกิดความตระหนักถึงปัญหาในการบริโภคอาหารและพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง

80.00 50.00
2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ จำนวน 40 คน

30.00 50.00
3 เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากการขายผักปลอดสารพิษ

ประชาชนที่ปลูกผักปลอดมปลอดสารพิษมีรายได้เพิ่มขึ้น

50.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
สำรวจผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการประชาสัมพันธ์ 2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3. เตรียมสถานที่ในการอบรม พร้อมทั้งเครื่องเสียง สื่อ เอกสาร วัสดุ อุบปกรณ์ในการฝึกในการอบรม 4. ดำเนินการจัดกิจกรรม ดังนี้ 4.1. กิจกรรม สำรวจผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ไช่สารเคมีประชาสัมพันธ์โครงการ - ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.สต., อบต., อสม., เกษตรอำเภอ - รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ - จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบข้อมูลผู้ที่สนใจปลูกผักอินทรีย์เพื่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสารเคมีในเลือด

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารเคมีในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่ากระดาษทดสอบตรวจโคลีนเอสเตอเรสพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 100 การทดสอบ จำนวน 10 กล่องๆละ 1,605 เป็นเงิน 16,050 บาท 2.เข็มเจาะปลายนิ้ว T-PRO-UNO (200ชื้น/กล่อง)จำนวน 5 กล่องๆละ 1,070 บาท เป็นเงิน 5,350 บาท 3. ค่าถุงมือ จำนวน 10 กล่องๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 4.ค่าจัดส่งสินค้า 200 บาท 5.ค่าอาหาร จำนวน 20 คนๆละ 50 บาท จำนวน 10 วันเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับการตรวจคัดกรอง และให้คำแนะนำในการบริโภคอาหารที่ปลอดภับ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33600.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้เกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัยและโทษของการบริโภค อาหารหรือพืชผักที่มีสารพิษ สารเคมีตกค้าง 2. จัดอบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้บริโภคด้วยตนเองในครัวเรือน 3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และพืชผลผลิตทางการเกษตรของผู้เข้าร่วมโครงการ 4. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ งบประมาณ ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรบริหารส่วนตำบลสุคิริน ปีงบประมาณ 2566 1. ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 1 แผ่นๆละ 720 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 วันเป็นเงิน 4,500 บาท 3. ค่าอาหาร จำนวน 45 คนๆละ 50 บาท จำนวน 2 วันเป็นเงิน 4,500 บาท 4. ค่าวิทยากร 2 คน จำนวน 12 ชั่วโมง (2 วัน) ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน7,200บาท 5. ค่าเดินทางวิทยากร ๑,๒๐๐ บาท x ๒ คน เป็นเงิน 2,400 บาท 6. ค่าที่ พักวิทยากร คืนละ 800 จำนวน 2 คืน เป็นเงิน 1,600 บาท7. ค่าอุปกรณ์ เอกสารและวัสดุฝึก 100 บาท x 45 คน เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงิน 25,420 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ไปปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารเคมี และเข้าใจถึงการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 59,020.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจในวิธีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคด้วยตนเองและสามารถที่จะ นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษและไม่มีสารเคมีตกค้าง
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตซึ่งกันและกันช่วยทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมีความกลมเกลียว

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>