กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อสุขภาพที่ดี ป้องกันโรค และใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. นายปฏิวัติเด่นอร่ามคาน
2. นายอับดุลเลาะสะแลแม
3. นางสาวศรีสุดาธนูศิลป์

หมู่ที่ 1-8 ต.ปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในทุกระดับทั้งระดับโลก ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกๆปี ด้วยสาเหตุที่อาจจะเกิดจากการเติบโตของสังคม ส่งผลให้ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมืองโดยไม่มีการจัดการขยะที่ถูกวิธี ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อดรค เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์พาหะนำโรคที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามมาในภายหลัง การคัดแยะขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนเละลดปัญหาขยะที่ตกค้างในชุมชน ทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน รวมไปถึงการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดใช้พลังงาน และลดมลพิษที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อย่างเห็นได้ชัดเจน เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้าง จึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท เพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายนำเข้าสู่ระบบการกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล ส่วนขยะรีไซเคิลนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปนำไปทิ้งหรือกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต่อไป
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อสุขภาพที่ดี ป้องกันโรค และใสใจสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในชุมชน สร้างมูลค่าขยะให้เป็นรายได้ และส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ รวมไปถึงการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการคัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีรายได้จากการคัดแยกขยะ

 

0.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน ขนาด 1.5 เมตร x 3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน                เป็นเงิน  1,125 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 8 ครั้ง เป็นเงิน 14,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 หมู่บ้านๆละ 135 คน
    จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท                      เป็นเงิน  27,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง
  2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
  3. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
  4. ประชาชนได้นำปุ๋ยจากการทำถังขยะเปียกไปใช้ประโยชน์
  5. สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนน่าอยู่ ประชาชนปลอดโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42525.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมลดขยะเปียก ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลดขยะเปียก ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถังขยะเปียกสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 1,000 ถังๆละ 130 บาท  เป็นเงิน 130,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง
  2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
  3. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
  4. ประชาชนได้นำปุ๋ยจากการทำถังขยะเปียกไปใช้ประโยชน์
  5. สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนน่าอยู่ ประชาชนปลอดโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
130000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข้ ต้ายภัยโรคร้าย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขยะอันตรายแลกไข้ ต้ายภัยโรคร้าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ ขนาด 1.5 เมตร x 2.4 เมตร
    จำนวน 10  ผืน                          เป็นเงิน  9,000 บาท
  • ไข่ไก่ จำนวน 500 ฟองๆละ 5 บาท                  เป็นเงิน  2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง
  2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
  3. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 184,025.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง
2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
3. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
4. ประชาชนได้นำปุ๋ยจากการทำถังขยะเปียกไปใช้ประโยชน์
5. สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนน่าอยู่ ประชาชนปลอดโรค


>